5. แนวทางในการพัฒนาการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการควบคุมผู้ถูกคุมความประพฤติ

Main Article Content

ปัญญา ชารัญจ่า
เขมณัฐ ภูกองไชย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องแนวทางในการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการควบคุมผู้ถูกคุมความประพฤติ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคการใช้งานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการควบคุมผู้ถูกคุมความประพฤติ 2) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการควบคุมผู้ถูกคุมความประพฤติ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 คน เพื่อให้ทราบถึงประเด็นของการศึกษาในรายละเอียดที่สำคัญ และมีความครอบคลุมในเนื้อหาที่ทำการศึกษาอย่างครบถ้วน


ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มผู้ติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีสองกลุ่มคือ กลุ่มผู้ต้องโทษจากเรือนจำ และกลุ่มผู้ติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตามคำสั่งศาลในการคุมความประพฤติ มีผู้ถูกคุมความประพฤติส่วนน้อยที่ทำผิดเงื่อนไขการคุมความประพฤติ เช่น เดินทางออกนอกพื้นที่เขตกำหนด จนต้องถูกจับส่งตัวกลับเข้าไปเรือนจำเหมือนเดิม ปัญหาการใช้งานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่พบคือ สายชาร์ตแบตเตอรี่ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชำรุดทำให้ชาร์ตไฟไม่เข้า และอุปสรรคของผู้ติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คือ ยังคงถูกปฏิเสธจากสังคม เช่น การไปหางานทำ ถ้าเขาเห็นว่าติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก็ไม่มีใครรับเข้าทำงาน 2) แนวทางในการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการควบคุมผู้ถูกคุมความประพฤติ ยังต้องพัฒนาระบบติดตามตัว เพราะการติดตามตัวผู้ถูกคุมความประพฤติจะขึ้นอยู่กับศูนย์ควบคุมกลางที่มีเจ้าหน้าที่สามารถติดตามได้ตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อพบการกระทำผิดเงื่อนไขการคุมความประพฤติ จึงจะแจ้งเตือนไปยังผู้ถูกคุมความประพฤติ การแจ้งเตือนบางครั้งเกิดความล่าช้า เช่น ผู้ถูกคุมความประพฤติเดินทางออกนอกพื้นเป็นเวลาหลายวันแล้วยังไม่มีการติดตามตัวและแจ้งเตือน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมราชทัณฑ์. (2564). รายงานสถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ทั่วประเทศ. สืบค้น 14 มิถุนายน 2564, จาก http://www.correct.go.th/rt103pdf/report_result.php?date=2021-05-02&report=.

ข่าวไทยพีบีเอส. (2563). กำไลอีเอ็ม ความยุติธรรมแบบให้โอกาส ลดแออัดในเรือนจำ. สืบค้น 26 มกราคม 2565, จาก https://news.thaipbs.or.th/content/296722.

นัทธี จิตสว่าง. (2558). มาตรการทางเลือกในการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดเพื่อแก้ปัญหานักโทษล้นคุก. สืบค้น 28 มกราคม 2565, จาก http://www.nathee-chitsawang.com/%.

ปิยะพร ตันณีกุล. (2559). แนวทางพัฒนาการนำระบบการควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์ มาใช้กับผู้กระทำผิดในประเทศไทย. สืบค้น 15 มกราคม 2565, จาก https://so04.tcithaijo.org/index.php/swjournal/article/download/170881/122808/.

ภาณุกฤษฏิ์ พิศิษฎ์สกุลชัย. (2565). รูปแบบการลงโทษนักเรียนและแนวทางในการควบคุมให้เกิดการลงโทษนักเรียนที่เหมาะสมในสถานศึกษา. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 8(1), 131-138.

รณกฤษ ศรีเปรมหทัย. (2559). การใช้วิธีการควบคุมผู้กระทำผิดด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ (EM) แทนการจำคุกในเรือนจำ. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายอาญา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศรันยา สีมา. (2558). กำไลอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ควบคุมผู้กระทำความผิด. สืบค้น 15 พฤษภาคม 2564, จาก https://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2559/hi2559-006.pdf.

สุมนทิพย์จิตสว่าง และฐิติยา เพชรมุนี. (2559). แนวทางการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Monitoring) มาใช้ในการควบคุมตัวผู้กระทำผิดในประเทศไทย. สืบค้น 15 มกราคม 2565, จากhttps://so04.tci-thaijo.org/index.php/swjournal/article/download/170881/122808/.

สิทธินันท์ บุญหาว. (2564). ประสิทธิผลการนำนโยบายพัฒนาการนำระบบการควบคุมตัวผู้กระทำความผิดด้วย ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไปปฏิบัติเรือนจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. สืบค้น 15 มกราคม 2565, จาก https://so02.tcithaijo.org/index.php/appm/article/download/253916/171012.