การพัฒนาประสิทธิภาพการรับเรื่องราวร้องทุกข์ผ่านศูนย์ดำรงธรรมอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาประสิทธิภาพการรับเรื่องราวร้องทุกข์ผ่านศูนย์ดำรงธรรมอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี”
มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการบริหารการจัดการพัฒนาประสิทธิภาพการรับเรื่องาราวร้องทุกข์ของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี (2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดการรับเรื่องาราวร้องทุกข์ของศูนย์ดำรงธรรม อำเภอหนองแสงจังหวัดอุดรธานี โดยใช้ระเบียบวิจัย การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview)
ผู้ที่ให้สัมภาษณ์ทั้งหมดจำนวน 12 คน เป็นเพศชายจำนวน 7 คน และเป็นเพศหญิงจำนวน 5 คน มีช่วงอายุทีที่ช่วงอายุ 43-67 ปีผลการวิจัยพบว่า
มีปัญหาอุปสรรคมากมายในการทำงานของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอหนองแสง ซึ่งพบปัญหาในหลายๆ ด้าน เช่น ด้านบุคลากร ด้านเทคโนโลยี ด้านการทำงานล่าช้า ด้านอำนาจการไกล่เกลี่ย ด้านครุภัณฑ์ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้งานล่าช้า ดังนั้นศูนย์ดำรงธรรมอำเภอต้องแก้ปัญหาในด้านการให้บริการด้วยความสะดวก รวดเร็ว เพื่อสามารถบำบัดทุกข์ บำรุงสุขของประชาชนในพื้นที่ได้ควรนำหลักการจัดการความรู้กับการบริหารราชการแนวใหม่ การบริหารราชการแนวใหม่หรือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Management) เป็นแนวคิดพื้นฐานของการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบต่าง ๆ ขององค์กรภาครัฐโดยมีแนวทางในการบริหารจัดการ 7 ประการประการ คือ 1) การให้บริการที่ มีคุณภาพแก่ประชาชน 2) การคำนึงถึงความต้องการของประชาชนเป็นหลัก 3) รัฐพึงทำบทบาท เฉพาะที่รัฐทำได้ดีเท่านั้น 4) การลดการควบคุมจากส่วนกลางเพิ่มความอิสระแก่หน่วยงาน 5) ระบบการบริหารงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ 6) การมีระบบสนับสนุนทางด้านบุคลากรและเทคโนโลยี 7) เน้นการแข่งขันระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับเอกชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
กรมการปกครอง. (2551). บทบาท อำนาจหน้าที่ และกฎหมายในการอำนวยความเป็นธรรมฝ่ายปกครอง. กรุงเทพฯ:
อาสารักษาดินแดน.
กรมการปกครอง. (2554). คู่มือการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท. กรุงเทพฯ: อาสารักษาดินแดน.
ประยูร พรหมพันธ์. (2556). 120 ปี กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพฯ: สถาบันดำรงราชานุภาพสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.
พิธุวรรณ กิติคุณ. (2559). การพัฒนาระบบราชการโดยการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result BasedManagement: RBM). สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2565, จาก http://www.Par-liament.go.th.30
วชิรวัชร งามละม่อม. (2559). ทฤษฎีการมีส่วนร่วม. Media Learning of Public Administration. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2564, จาก http://learningofpublic.blogspot.com/2016/02/
วินัย ศรีขวัญ. (2554). ข้อไกล่เกลี่ยข้อพิพาท. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์, อาสารักษาดินแดน จำกัด.
วรเดช จันทรศร. (2548). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สหายบล๊อคและการพิมพ์.
ประยูร พรหมพันธ์. 120 ปี กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพ ฯ: สถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย, 2556.
ศูนย์ดำรงธรรม สำนักงานตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2557). คู่มือการดำเนินการแก้ไขปัญหาการร้องทุกข์/ร้องเรียน ศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2545). บรรณานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564, จาก https://dictionary.orst.go.th/.
สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2557). คู่มือการ ดำเนินการแก้ไขปัญหาการร้องทุกข์/ร้องเรียนศูนย์ดำรงธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี. (มปป.) แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561-2565) องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี.
สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2564, จาก:https://infocenter.udonpao.go.th/plan-project-local-development-plan-2561-2565/.