การบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครูในกลุ่มสหวิทยาเขตชลบุรี 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครูในกลุ่มสหวิทยาเขตชลบุรี 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานและขนาดโรงเรียน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในกลุ่มสหวิทยาเขตชลบุรี 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง โดยใช้ตารางของ Cohen (Cohen, Manion and Morrison, 2011, pp.147) ได้จำนวน 285 คน และใช้วิธีสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม จำนวน 50 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นแอลฟ่าของครอนบาคได้เท่ากับ .973 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) และความแปรปรวนทางเดียว one-way ANOVA เมื่อพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเซฟเฟ่ (Scheffe's post hoc comparisons method)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มสหวิทยาเขตชลบุรี 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน พบว่าครูที่มีวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน ทั้งภาพรวมและรายด้าน 3) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่าครูที่อยู่ในโรงเรียนขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารสถานศึกษาแตกต่างกันทั้งภาพรวมและรายด้าน โดยครูที่อยู่ในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและใหญ่ มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารสถานศึกษามากกว่าครูที่อยู่ในโรงเรียนขนาดกลาง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
_______. (2557). 112 ปี กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การค้าคุรุสภา.
กรรณิการ์ นุดวงแก้ว . (2560). ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนเมือง 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 . สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.
กริชนรินทร์ สิงคเวหน. (2561). สภาพการบริหารงานบุคลากรโรงเรียนในอำเภอลำลูกกา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 . สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.
จอมพงศ์ มงคลวนิช.(2556). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : วีพริ้นท์.
ชนากานต์ บุญทอง. (2562). กลยุทธ์การบริหารจัดการบุคลากรที่มีศักยภาพสูง เพื่อสร้างความได้เปรียบในองค์กร สังกัดสำนักงาน. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.
ดารัตน วรธรรมพิทักษ์. (2561). ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการบริหารงานบุคลากรของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 สหวิทยาเขตวิภาวดี เขตดอนเมือง . สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.
ไตรรงค์ จันทะบาล. (2563). สภาพและแนวทางการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.
นวรัตน์ รอดเพียน. (2560). ภาวะผู้นำเชิงจริยะรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานบุคลากรของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, ฉะเชิงเทรา.
ยุวดี นามนิล. (2564). บทบาทของผู้บริหารต่อการบริหารบุคลากรยุคดิจิทัลของสถานศึกษาในอำเภอบางบัวทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 . สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.
วณิชา แจ่มฤกษ์แจ้ง. (2562). การบริหารบุคลากรที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม:กรณีศึกษาโรงเรียนของรัฐระดับมัธยมศึกษาที่มีโครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอน. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, กรุงเทพฯ.
วณิดานันท์ ไตรปาน. (2560). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคลากรของโรงเรียนมัธยมตากสินระยอง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง. งานนิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
ศศิธร ยอดออน. (2561). ความคิดเห็นของครูที่มีต่ออการบริหารงานบุคลากรในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเวียงสา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.
ศิริพงศ์ เศาวภายน. (2556). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : มิตรภาพการพิมพ์และสติวดิโอ จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภา. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
สีวรรณ์ ไชยกุล. (2562). การบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3 . สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.
Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education. (7th Ed.). New York: Routledge.