8. การบริหารการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1

Main Article Content

กมลวรรณ สุอารี
รุจิร์ ภู่สาระ
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21ของผู้เรียน โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1  จำแนกตามระดับการศึกษาอายุ และประสบการณ์การทำงาน  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกปทุมธานี เขต 1  จำนวน 242 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ โดยใช้ตารางของ Cohen (Cohen, Manion and Morrison, 2011, pp.147) ได้จำนวน 151 คนและวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเป็นแบบเลือกตอบ (Checklist) เกี่ยวกับการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1 จำนวน 40 ข้อ มีค่าความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.80 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98  สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติพื้นฐาน สถิติทดสอบค่า (t-test) และความแปรปรวนทางเดียว  (One Way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จะทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ โดยใช้วิธีการของเซฟเฟ่ (Scheffe's post hoc comparisons method)


ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21ของผู้เรียนโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) ครูที่มีอายุต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน โดยภาพรวมและในรายด้านไม่แตกต่างกัน 4) ครูที่มีประสบการณ์ในการสอนต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน โดยภาพรวมและในรายด้านไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

บันเย็น เพ็งกระจ่าง. (2561). การพัฒนาครูด้านการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21ของโรงเรียนสารสาสน์วิเทศคลองหลวง

สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกริก.

ปาริชาติ อังกาบ. (2561). ทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(1), 264-277.

พจนีย์ มั่งคั่ง (2563). แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ของครู โรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ (มสป.).

_______. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่ง สินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

รุ่งระวี เมฆไลย. (2560). การศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการเสริมสร้างทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต3. การค้นคว้าอิสระ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษธานี, สุราษธานี.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี – สฤษดิ์วงศ์.

สลิตา รินสิร. (2558) การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนในเขตอำเภอเกาะจันทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2563 – พ.ศ. 2565 ฉบับทบทวน 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 1 : กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1.

สำนักงานเลขาธิการสภา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ. บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์. (2560) ทิศทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 4-8.

สุภาพร แสงสี. (2562) การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. ครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุริยาพร นพกรเศรษฐกุล. (2561). ทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดระยอง สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

อมรรัตน์ เตชะนอก. (2562). การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, (9), 4-8.

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education. (7th Ed.). New York: Routledge.

Martin, J. (2010). The Meaning of the 21st Century. Bangkok. L. T. P. The Partnership for 21st Century Skill. (2009).Framework for 21st Century Learning. Retrieved May 5, 2020, from http://21st Century skill. Org/index.php.

Rotherham, A., & Willingham, D. (2009). 21st century skills: The challenges ahead. Educational Leadership, 67(1), 16-21.