ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาเครือข่ายโรงเรียนที่ 72 สำนักงานเขตบางขุนเทียน สังกัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาเครือข่ายโรงเรียนที่ 72 สำนักงานเขตบางขุนเทียน สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม คุณวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูเครือข่ายโรงเรียนที่ 72 สำนักงานเขตบางขุนเทียน สังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2564 จำนวน 217 คน และใช้วิธีสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน
40 ข้อ มีค่าดรรชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นแอลฟ่าของครอนบาคได้เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) และความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 จะเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ Scheffe′’s (Scheffe′’s method)
ผลการวิจัยพบว่า
- ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
- การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา 2.1) ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 2.2) ครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน และครูที่สังกัดสถานศึกษาที่ขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
ชินกรณ์ แก้วรักษา. (2555). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา.
ณัฐชริกา บัณฑุกากาญจน์. (2559). การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดระบบสารสนเทศของโรงเรียนราชดำริ กรุงเทพมหานคร.
ณัฐพงศ์ แก้วรากมุข. (2563). การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.
ณัฐวุฒิ ซาวคำเขตต์. (2561). การบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในอำเภอเวียงแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง กศ.ม., มหาวิทยาลัยพะเยา,พะเยา.
ธีรวัฒน์ แสงสว่าง. (2561). สภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาสู่ไทยแลนด์ 4.0 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สุวีรียาสาส์น.
พันทิพย์ ภูติยา. (2550). สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษาเทศบาลเมืองสกลนคร. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, สกลนคร.
ยูไฮนี บากา. (2563). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่., สงขลา.
ฤทัยรัตน์ ทุมรัตน์. (2563). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช., นครศรีธรรมราช.
เลิศลัคน์ ภาคาผล. (2560). การบริหารงานสถานศึกษาโดยใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ ค.ม.,มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี,ธนบุรี.
สมจิตร ขวัญแดง. (2560). สภาพปัญหาของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.สารนิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แผนการศึกษาแห่งชาติ 2560–2579. กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
สุเมธ งามกนก. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อศักยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ของครูในการบริหารสถานศึกษาในภาคตะวันออกชลบุรี : โรงพิมพ์ศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษา.
อภิญญา บุตรฉุย. (2563). ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาในโรงเรียขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 จังหวัดสมุทรสงคราม.
อุศมาน หลีสันมะหมัด. (2560). สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.
Cohen, Louis. (1928). Research methodsin education. (7th ed). LouisChon, Lawrence Morrison.