11. สภาพการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของครูโรงเรียนในสำนักงานเขตประเวศ สังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พราวนภา วงค์อ้าย
รุจิร์ ภู่สาระ
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของครูโรงเรียนในสำนักงานเขตประเวศ สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงานและวิทยฐานะ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครูโรงเรียนในสำนักงานเขตประเวศ สังกัดกรุงเทพมหานครปีการศึกษา 2564 จำนวน 217 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ (Check List) และเป็นลักษณะแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ของลิเคิร์ท Likert (1976, p. 247) เกี่ยวกับสภาพการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูตามเกณฑ์ข้อบังคับคุรุสภา 2562 พัฒนามาจากแนวคิดของภัทรวรรณ รอดเจริญ - สงวน อินทร์รักษ์ (2563) และ ของ สายฝน ชำนาญเรียน (2560) จำนวน 40 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.80-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.980 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ใน การวิจัย คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way analysis of variance) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทำการเปรียบเทียบความแตกต่างเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเซฟเฟ่ (Scheffe's posthoc comparisons method)


ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของครูโรงเรียนในสำนักงานเขตประเวศ สังกัดกรุงเทพมหานคร
    ในการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
    ครูในสำนักงานเขตประเวศ สังกัดกรุงเทพมหานคร มีการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู อยู่ในระดับมากที่สุด มี 2 ด้าน
    1. มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนด้วยจิตวิญญาณความเป็นครู 2. ปฏิบัติงานในหน้าที่ที่รับได้มอบหมายได้ครบถ้วนบรรลุวัตถุประสงค์ของงาน ส่วนด้านอื่นๆพบว่าอยู่ในระดับมาก

  2. การเปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของครูโรงเรียนในสำนักงานเขตประเวศ
    สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงานและวิทยฐานะ มีดังนี้

2.1 ครูที่มีวุฒิการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีมีการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูเฉพาะด้านการปฏิบัติหน้าที่ครูอยู่ในระดับมากกว่าครูที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรี ส่วนด้านอื่นๆไม่แตกต่างกัน


2.2 ครูที่มีประสบการณ์ทำงานระหว่าง5 – 10ปี มีการปฏิบัติหน้าที่ครูมากกว่าครูที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 10 ปีขึ้นไปและครูที่มีประสบการณ์ต่ำกว่า 5 ปี


2.3 ครูที่มีวิทยฐานะชำนาญการ มีสภาพการการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูสูงกว่าครูที่มีวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและครูที่ไม่มีวิทยฐานะ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลชาติ อุ่นยศ และ ดร. สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์. (2561). การปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพด้านการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร.สารนิพนธ์ ศึกษศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

กฤษฎีกา, สำนักงาน. (2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : สำนักงานกฤษฎีกา.

พัฒณา มะลิวัลย์,รุงชัชดาพร เวหะชาต. (2560). การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ ของครูโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ภัทรวรรณ รอดเจริญ, สงวน อินทร์รักษ์. (2563). การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพของครูโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ จังหวัดสมุทรสาคร.วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศศิธร นาคสง. (2550). การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของครูโรงเรียนตะกั่วป่า “เสนานุกูล” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพังงา.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยบูรพา.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ, 2553, หน้า 5-12.

สายฝน ชำนาญเรียน. (2560). การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของครูในอำเภอบ้านค่ายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต1.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2549). คู่มือการใช้เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา 2549. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภากระทรวงศึกษาธิการ. (2562, 20 มีนาคม). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา.

สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

Cohen, Louis. (1928). Research methods in education. (7th ed). Louis Chon, Lawrence Morrison.