13. ความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์กรส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของพนักงานบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง

Main Article Content

อาภาพัชร์ แซ่ตั่น
กิติยา ทัศนะบรรจง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของความพึงพอใจในงาน ความผูกพันต่อองค์กร ต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร ของพนักงานบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จำนวน 405 คน และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ (Multiple Linear Regression Analysis)


ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจในงาน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์กรได้แก่ ปัจจัยด้านลักษณะงาน ด้านการบังคับบัญชา และด้านรายได้ สำหรับความพึงพอใจในงาน และความผูกพันต่อองค์กรมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร ได้แก่ ปัจจัยด้านความเต็มใจในการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ขององค์กรและด้านความเชื่อถือและยอมรับในเป้าหมายและค่านิยมขององค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม.(2565). ข้อมูลโรงงานแยกตามพื้นที่ .จาก http://userdb.diw.go.th/factoryPublic/tumbol.asp.

กระทรวงอุตสาหกรรม.(2554). ประกาศกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การระบุชื่อ ประเภท ชนิด หรือขนาดบรรจุของสารเคมีหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารระเหย พ.ศ.2554. จาก https://mnfda.fda.moph.go.th/narcotic/?p=3597.

นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด. (2563). จาก https://www.whaindustrialestate.com/th/about-us/why-wha.

สรสุดา แก่นจันทร์ (2561). การรับรู้บรรยากาศองค์กร ความผูกพัน ความพึงพอใจในการทำงาน ที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี ของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษากลุ่มใหม่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. สาขาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2563). จาก https://www.eeco.or.th/industry/อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต.

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2562). จาก https://indexes.oie.go.th/.

สุดารัตน์ ครุฑสึก. (2557). ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน ความผูกพันต่อและการสื่อสารในองค์กรส่งผลต่อการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรของพนักงานเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Arif Prasetio & Syahrizal Siregar & Luturlean, Bachruddin. (2015). The effects of job satisfaction and organizational commitment on organizational citizenship behavior. Jurnal Siasat Bisnis, 19, 99-108.

Clegg, S. R., C. Hardy., and W. R. Nord. (1996). Handbook of Organization Studies. 1st ed. London : SAGE.

Fitrio, Tomy&Apriansyah, Roky &Utami, Sabrina &Yaspita, Hasanah. (2019). The Effect of Job Satisfaction to Organizational Citizenship Behavior (OCB) Mediated by Organizational Commitment. International Journal of Scientific Research and Management. 7.

HassanrezaZeinabadia. (2010). Job satisfaction and organizational commitment as antecedents of Organizational Citizenship Behavior (OCB) of teachers. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 5. doi: 10.1016/j.sbspro.2010.07.225.

Herzberg, F. (1959). The motivation to work. New York: John Wiley & Sons.

Kaliski, B.S. (2007). Encyclopedia of Business and Finance. Second edition. Thompson Gale, Detroit, p. 446.

Kasemsap, K. (2012). Factors Affecting Organizational Citizenship Behavior of Passenger Car Plant Employees in Thailand. Silpakorn University Journal of Social Sciences, Humanities, and Arts, 12, 129-160.

Maftuhatul, Fazriyah & Hartono, Edy & Handayani, Rini. (2019). The Influence of Job Satisfaction and Organizational Commitment on Organizational Citizenship Behavior. Advances in Social Science, Education and Humanities Research, 306 201.

Steers, R.M. (1977). Organization Effectiveness. California: Goodyear Publishers Inc.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York. Harper and Row Publications.