ผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านแอปพลิเคชันกูเกิลคลาสรูมรายวิชา หลักการเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่

Main Article Content

นุชรัตน์ นุชประยูร
กัมปนาท คูศิริรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาหลักการเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ผ่านแอปพลิเคชันกูเกิลคลาสรูมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ที่ลงทะเบียนเรียน รายวิชาหลักการเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่  จำนวน 27 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนการเรียนผ่านแอปพลิเคชันกูเกิลคลาสรูม แบบฝึกหัดท้ายกิจกรรม แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจ โดยผ่านการหาคุณภาพเครื่องมือแล้ว การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และค่าดัชนีประสิทธิผล


ผลการวิจัย พบว่า ผลประเมินประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาหลักการเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ  84.63/82.41  สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 ผลการประเมินประสิทธิผลที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา หลักการเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่มีค่าเท่ากับ 0.7145 แสดงว่านักศึกษามีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.45  สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 70 และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนผ่านแอปพลิเคชันกูเกิลคลาสรูมในระดับ มาก ( gif.latex?\bar{x} = 4.34, S.D.= 0.62)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสําหรับบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นัฏฐิกา สุนทรธนผล. (2560). การศึกษาความพีงพอใจของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนผ่านกูเกิลคลาสรูม รายวิชาประวัติดนตรีตะวันตก. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรชนันท์ ชูทอง และเอกวิทย์ สิทธิวะ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้ Google Classroom ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 4(1), 49-60.

สรพงศ์ สุขเกษม. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานรายวิชาคอมพิวเตอร์สารสนเทศ ขั้นพื้นฐานสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและ สื่อสารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เสมา สอนประสม. (2559). ศึกษาความพึงพอใจในการใช้คลาสรูมในวิชาฟิสิกส์ 1 สำหรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2559, 1340-1347.

Jakkaew, P., & Hemrungrote, S. (2017). The use of UTAUT2 model for understanding student perceptions using Google Classroom: A case study of introduction to information technology course. The International Conference on Digital Arts, Media and Technology 2017: 11- 17.

Shaharanee, I.N., Jamil, M.J. and Rodzi, S.S. (2016). The Application of Google Classroom as a Tool for Teaching and Learning. Journal of Telecommunication Electronic and Computer Engineering, 8(10), 1-8.