2. ภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์การที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

เกรียงศักดิ์ แสงสว่าง
อภิรัตน์ โกสุมา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์การที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์การที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจ
ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์การ
ที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน โดยใช้สูตรของเครจซี่และมอร์แกน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F – test ในการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์แบบถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า


  1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์การ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหาร
    ส่วนจังหวัดปทุมธานี พบว่าภาวะผู้นำด้านแบบปล่อยเสรี มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (gif.latex?\bar{x} = 3.70) และวัฒนธรรมองค์การ ด้านวัฒนธรรม
    การปรับตัวมีค่าเฉลี่ยโดยรวมสูงสุด (gif.latex?\bar{x}= 3.90) และคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรด้านค่าตอบแทนที่เหมาะสม
    และเป็นธรรม (gif.latex?\bar{x} = 3.83) มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด

  2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรต่อภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์การที่มีอิทธิพล
    ต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีโดยสรุปพบว่า ภาพรวมไม่แตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติ .05 และความสัมพันธ์ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ และวัฒนธรรมองค์การในการอธิบายและทำนายของตัวแปร พบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีความสัมพันธ์ในทางบวกในระดับสูง (r = .843) ส่งผลต่อวัฒนธรรมส่วนร่วม (r =.633) ซึ่งจะมีผลทางบวกต่อแรงจูงใจ
    ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี (R2=0.84, R2Adjusted=0.83, Sr2=3.34, F=23.52, p<0.001) ตามลำดับ

  3. ข้อเสนอแนะการวิจัยในครั้งนี้ องค์การต้องเห็นคุณค่าและความสำคัญพฤติกรรมด้านภาวะผู้นำ พร้อมทั้งควรมุ่งเน้น
    ให้เกิดการถ่ายทอดวัฒนธรรมการทำงานและสร้างค่านิยมจากบุคคลรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งในรูปแบบที่หลากหลาย โดยที่บุคลากรสามารถรับรู้ถึงวัฒนธรรมผ่านพฤติกรรมธรรมเนียมวิธีการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2558). ประชาธิปไตยทางการคลังไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

กิตต์ระวี เลขากุล. (2561). ธรรมาภิบาลวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของเทศบาลในเขตภาคใต้ของประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุลชัยรุ่งเรือง. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(3), 76-91.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2535). ศัพท์รัฐประศาสนศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นฤมล เพ็ญสิริวรรณ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลในจังหวัดนนทบุรี. วารสารมหาจุฬา

นาครทรรศน์, 6(10), 2641-5658.

นันธิดา จันทร์ศิริ. (2558). ธรรมาภิบาลระดับท้องถิ่น: มุมมองด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการท้องถิ่น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 7(2), 95-117.

บูฆอรี ยีหมะ. (2552). ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา: สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. 13(25), 103-118.

ประโยชน์ ส่งกลิ่น. (2556). การบริหารรัฐกิจยุคหลังสมัยใหม่: แนวคิด ทฤษฎีและการน้าไปปฏิบัติ. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.

ปัณณธร เธียรชัยพฤกษ์. (2561). ทิศทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในอนาคต. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 3(2), 183-196.

ธนิศร ยืนยง. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดนครนายก. วารสารมหาจุฬา

นาครทรรศน์, 5(2), 119 - 135.

ธณัฐพล ชอุ่ม. (2558). ตัวแบบการบริหารจัดการที่มีผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบลในเขตภาคกลางของประเทศไทย. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสยาม.

พีรพงศ์ กนกเลิศวงศ์ และธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 5(1), 109-121.

พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2562). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่มีต่อการบริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่ 13 (กรุงเทพมหานคร). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(1), 486-498.

พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2564). ประสิทธิผลการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 8(2), 15-31.

รัชยา ภักดีจิตต์. (2557). ธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารภาครัฐและภาคเอกชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วุฒิสาร ตันไชย. (2557). การกระจายอ้านาจและประชาธิปไตยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบัน พระปกเกล้า.

วิศาล ศรีมหาวโร. (2556). สังคมวิทยาการเมืองการปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

วลินเนศวร์ ธีรการุณวงค์. (2562). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบลในจังหวัดนนทบุรี. รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ, ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์, พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์, ลิลี่ โกศัยยานนท์, หควณ ชูเพ็ญ, และธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา. (2557). การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นตาม กระบวนทัศน์แห่งการบริหารกิจการสาธารณะแนวใหม่. ขอนแก่น: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อภิษฎาข์ ศรีเครือดง นภัทร์ แก้วนาค ธนู ทดแทนคุณ และลัดดา แพรภัทรพิศุทธ. (2563). รูปแบบการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความโปร่งใส ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในทศวรรษหน้า. วารสารศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 2(1), 341-356.

Cramer, W., & Persaud, P. (2004). Decentralization and local government in the Caribbean. n.p.: National Democratic Institute for International Affairs (NDI).

Powell, Jr., G. B., & Powell, E. N. (2005). Democratization briefing paper. n.p.: College Board.

SNV East and Southern Africa. SNV Netherlands development organization. (2004). Strengthening local governance: Finding quality advisory approaches. Nairobi, Kenya: Organization.

Samarasinghe, S. W. R. de A. (1994). Democracy and democratization in developing countries. Boston, Massachusetts: Department of Population and International Health, Harvard School of Public Health.

Schweizerische Eidgenossenschaft. (2007). Decentralisation and local governance module 1: Definitions and concepts. n.p., Eidgenossenschaft.

Schneider, A. (2003). Decentralization: Conceptualization and measurement. Studies in Comparative International Development, 38(3), 32-56

White, S. (2011). Government decentralization in the 21st century: A literature review. Washington, D. C.: Center for Strategic and international Studies (CSIS).