การบริหารจัดการมาตรการทางกฎหมายเพื่อสร้างความสัมพันธ์เชิงสมานฉันท์ในคดีอาญา

Main Article Content

นิวัฒน์ รังสร้อย
อภิรัตน์ โกสุมา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสร้างความสัมพันธ์เชิงสมานฉันท์ในคดีอาญาว่ามีปัญหาอย่างไร ควรแก้ไขอย่างไร 2)เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาการสร้างความสัมพันธ์เชิงสมานฉันท์ในคดีอาญาของประเทศไทยและต่างประเทศว่าเหมือนหรือแตกต่างกับประเทศไทยอย่างไร 3) เพื่อนำเสนอมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการสร้างความสัมพันธ์เชิงสมานฉันท์ในคดีอาญาของต่างประเทศที่มีความเหมาะสม เพื่อนำมาปรับใช้กับกฎหมายไทยให้มีประสิทธิภาพทัดเทียมนานาประเทศ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นหน่วยงานของรัฐที่กำกับดูแลพนักงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลปฐมภูมิเกี่ยวกับเรื่องนี้ทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสํารวจมาทำการสรุป


ผลการศึกษาวิจัยพบว่าการบริหารจัดการปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย โดยสรุปว่าประเทศไทยนำมาใช้ในชั้นศาลจำนวน 2 รูปแบบ คือ1) การไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทคดีอาญา และ 2) กระบวนการสมานฉันท์และสันติวิธีซึ่งในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 19, 20 และ 20 ทวิ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
ที่บัญญัติให้อำนาจศาลในการประนีประนอมหรือไกล่เกลี่ยโดยใช้กับประเภทคดีความผิดอันยอมความได้ เช่น การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแต่ศาลยุติธรรมได้นําบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 วรรคสอง และมาตรา 173 มีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนซึ่งคดีประเภทดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นความผิดที่มีอัตราโทษสูงและไม่สามารถยอมความได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงยุติธรรม. (2546). กระบวนทัศน์ใหม่ของกระบวนการยุติธรรมในการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด. กรุงเทพมหานคร:

สํานักกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม.

กิตติพงษ์ กิตยารักษ์และคณะ.(2554). ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายอาญาและอาชญาวิทยาชั้นสูง

หน่วยที่ 14. บัณฑิตศึกษา สาขาวิชานิติศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี, หน้า 14-13 ถึง 14-17.

จุฑารัตน์ เอื้ออํานวย. (2547). กระบวยการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ทางเลือกในการยุติข้อขัดแย้งทางอาญา สําหรับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร:

ดุลพห. สํานักระงับข้อพิพาท สํานักงานศาลยุติธรรม. (2552). การไกล่เกลี่ยฟื้นสัมพันธ์ในคดีอาญา. กรุงเทพมหานคร: สํานักระงับข้อพิพาท สํานักงานศาลยุติธรรม.

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2560). กฎหมายอาญาทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ : วิญญูชน.

ณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย์. (2550). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ : จากทฤษฎีสู่ทางปฏิบัติในนานาชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานอัยการสูงสุด.

ณรงค์ ใจหาญ และคณะผู้วิจัย. (2552). กระบวนการสร้างความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในศาลยุติธรรม. หน้า 7-40.

ณรงค์ ใจหาญ. (2556). หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.

บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ คณะศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 13(25), 103-118.

วรรณชัย บุญบำรุง, ธนกฤต วรธนัชชากุล, สิริพันธ์ พลรบ. (2554). หลักและทฤษฏีกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.

สุพิศ ประณีตพลกรัง. (2562). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแก้ไขใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม.

สิทธิกร ศักดิ์แสง. (2559). ความผิดอาญาที่ควรนำมาใช้้ในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทชั้นสอบสวน. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(93), 47-61.

โสภณ รัตนากร. (2557). คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติบรรณการ.

อุดม รัฐอมฤต. (2562). วิธีพิจารณาโดยไม่มีตัวจำเลยในคดีอาญา. วารสารนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 48(2), 220-247.

อุทัย อาทิเวช. (2556). คู่มือกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 1 ระบบไต่สวน & ระบบกล่าวหา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

Roche, Declan. (2003). Accountability in Restorative Justice. New York: Oxford University Press

Weitekamp, Elmar G. M. (2000). Research on Victim-Offender Mediation: Findings and Needs for the Future. In Victim-Offender Mediation in Europe: Making Restorative Justice Work pp.99-121. Leuven (Belgium): Leuven University Press.

Wenzel, L. H. (2000). Understanding managerial coaching: The role of manager attributes and skills in effective coaching. Unpublished doctoral dissertation, Colorado State University.