การวัดความมีประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของผู้ทำบัญชีในภาคธุรกิจของจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ชลลดา นรินทร์
นฤมล ชินวงศ์
ยุทธนา จันทร์ปิตุ
รติพร มีชัย
สำเริง นนศิริ
รุจิรา พลแพงขวา
กมลกา แดงสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การวัดความมีประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของผู้ทำบัญชีในภาคธุรกิจของจังหวัดอุดรธานี” มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาทักษะทางด้านวิชาชีพของผู้ทำบัญชีส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของผู้ทำบัญชี 2) ศึกษาประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของผู้ทำบัญชีในภาคธุรกิจของจังหวัดอุดรธานี 3) ศึกษาการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ ประสบการณ์ในการทำงาน ระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ลักษณะประเภทธุรกิจหรือหน่วยงานที่ปฏิบัติ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของผู้ทำบัญชีกลุ่มตัวอย่างคือผู้ทำบัญชีในภาคธุรกิจของจังหวัดอุดรธานี ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ทำบัญชีในภาคธุรกิจของจังหวัดอุดรธานี จำนวน 361 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม ด้วยค่า t-test สำหรับการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยที่มากกว่า 2 กลุ่ม ด้วยค่า F-test หรือ one-way ANOVA และทำการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการของเซฟเฟ่ (Scheffe). 


ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะทางด้านวิชาชีพของผู้ทำบัญชีประกอบด้วย 5 ด้านหลัก คือ  ทักษะทางด้านปัญญา ทักษะทางวิชาการเชิงปฏิบัติและหน้าที่การงาน ทักษะทางคุณลักษณะเฉพาะบุคคล ทักษะทางปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการสื่อสาร และทักษะด้านการบริหารองค์กรและการจัดการธุรกิจ 2) การวัดความมีประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของผู้ทำบัญชีในภาคธุรกิจของจังหวัดอุดรธานี บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ คุณภาพของงานที่ปฏิบัติ และปริมาณงาน ส่วนใหญ่มีระดับความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์มาก ( gif.latex?\bar{x} = 4.13) โดยมีปัจจัยด้านคุณลักษณะเฉพาะบุคคลที่มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นสูงสุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.17) เมื่อเปรียบเทียบกับทักษะด้านอื่น ๆ 3) เปรียบเทียบระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุ ด้านสถานภาพ ด้านระดับการศึกษาด้านประสบการณ์ในการทำงาน และด้านระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ในรายด้านทุกด้าน และโดยภาพรวม โดยการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการของเซฟเฟ่ (Scheffe)
ซึ่งในทุกด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทวิชชัย อุรัจฉัท และ ชุมพล รอดแจ่ม. (2562). ความรู้และความสามารถทางวิชาชีพของนักบัญชีตามมาตรฐานระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานประกอบการ เขตอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 5(2), 166 - 168.

พรทวี เถื่อนคำแสน และ บุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการตัดสินใจเลือกทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในนิคมอุตสาหกรรมเหมราชbอิสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 13(1), 2.

พิมพ์ผกา แก้วดี. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะนักวิชาชีพบัญชีที่ผู้ประกอบการต้องการตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดสงขลา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ลักษณ์มนล์ สุวรรณแสน. (2562). ทักษะทางวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักบัญชี การประปานครหลวง. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2564 จากเว็บไซต์ http://www.baabstract.ru.ac.th/Abstract.Pdf.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2562). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 3 (ฉบับปรับปรุง 2558) เรื่อง การพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก – ทักษะทางวิชาชีพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2564 จากเว็บไซต์ https://www.tfac.or.th/upload/9414/idUt90cQj4.pdf.

สุนิสา รัตนประยูร. (2559). การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการจัดทำบัญชีด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในเขตเทศบาล อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

สุโรจนา ศากยะ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสำเร็จในการปฏิบัติงานของบุคคลากรกรมสรรพสามิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เสาวลักษณ์ กิ่มสร้าง. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของผู้ทำบัญชีในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยศรีปทุม

สำนักงานบัญชี และกฎหมาย. (2563). ความหมายของการบัญชี. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2564, จากเว็บไซต์ http://wittyaccount.com/768.html.

สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดอุดรธานี. (2560). ข้อมูลธุรกิจจังหวัดอุดรธานี. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564, จากเว็บไซต์ https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=469401365.