ระบบตรวจสอบย้อนกลับผลผลิตทางการเกษตร กลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวอินทรีย์ไรซ์เบอร์รี่ เขตรอยต่อจังหวัดอุดรธานีและสกลนคร

Main Article Content

อดุลย์ ทองแกม
วิชาญ แสนปาง
กมลกา แดงสกุล
จักรพันธ์ จันทลา
กฤติกา จันทร์พล
รติพร มีชัย
สจี รุจิฉาย

บทคัดย่อ

จากกระแสความใส่ใจในสุขอนามัยของผู้บริโภค และคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร ส่งผลให้มีการออกกฎระเบียบต่าง ๆ มาควบคุมผลิตภัณฑ์อาหาร ไม่ว่าจะเป็น GMP HACCP BRC ISO และอื่น ๆ อีกหลายมาตรฐานและมาตรการ รวมถึงการติดตาม
และตรวจสอบย้อนกลับ หรือ Traceability ก็เป็นหนึ่งมาตรการที่กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วได้ออกกฎระเบียบนี้ขึ้นเพื่อกำหนดให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าในอุตสาหกรรมอาหาร แสดงถึงแหล่งที่มาและกระบวนการผลิตต่าง ๆ ให้กับผู้บริโภคได้สามารถเข้าถึงข้อมูล และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วในกรณีที่สินค้าอาหารนั้น ๆ หรือผลผลิตทางการเกษตรมีปัญหา โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างระบบตรวจสอบย้อนกลับผลผลิตทางการเกษตรกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวอินทรีย์ไรซ์เบอร์รี่ เขตรอยต่อจังหวัดอุดรธานีและสกลนคร 2) เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูล กลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวอินทรีย์ไรซ์เบอร์รี่ เขตรอยต่อจังหวัดอุดรธานีและสกลนคร
ด้วยขั้นตอนการศึกษาวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ 1) ศึกษาข้อมูลและลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการดำเนินงานวิจัย 2) พัฒนาระบบเพื่อทำการตรวจสอบย้อนกลับผลผลิตข้าวไรซ์เบอร์ โดยในระบบการสืบค้นย้อนกลับประกอบด้วย กระบวนการที่สำคัญ 2 กระบวนการ คือ กระบวนการติดตาม และกระบวนการสืบค้นย้อนกลับ 3) สังเคราะห์ผลที่ได้จากการดำเนินงานวิจัย เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน


ผลวิจัย พบว่า จากการสัมภาษณ์ทางเกษตรกรได้รับความคิดว่าในส่วนของระบบมีการใช้งานง่ายในกลุ่มอายุ 30-45 ปี
ส่วน 45 ปีขึ้นไปจะเห็นได้ชัดว่ามีปัญหาในการใช้งานเพียงเล็กน้อย แต่เกษตรกรได้ให้ความคิดว่าระบบมีประโยชน์เป็นอย่างมากเนื่องจากมีการตรวจสอบผลผลิต อีกทั้งยังสามารถเพิ่มรายการสินค้าการเกษตรที่หลากหลาย เช่น ผัก ข้าวหอมมะลิ ทำให้เกษตรกร
มีความต้องการนำระบบตรวจสอบย้อนกลับไปต่อยอดในสินค้าทางการเกษตรกลุ่มอื่น ๆ ด้วย รวมทั้งให้เพิ่มเติมข้อมูลที่เป็นผลดี
ต่อสุขภาพด้วย ระบบตรวจสอบย้อนกลับผลผลิตทางการเกษตร กลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวอินทรีย์ไรซ์เบอร์รี่ เขตรอยต่อจังหวัดอุดรธานีและสกลนคร เกษตรกรจำนวน 50 คน ได้ทดลองใช้ระบบมีความพึงพอใจอยู่ในค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69 ส่วนเบนเบี่ยงมาตรฐานเท่ากับ 0.07 ซึ่งผลปรากฏว่าอยู่ในระดับพึงพอใจมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เฉลิมชนม์ ไวศยดำรง. (2549). The Global Traceability Standard. วารสาร ASIA PACIFIC FOOD INDUSTRY THAILAND, 3, 42 - 45.

ณฐมน บัวพรมมี และ ก่อพงษ์ พลโยราช. (2555). การประยุกต์ใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับในสินค้าประเภทเนื้อสัตว์ในฐานะเครื่องมือทางกาตลาด. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศ, (2), 18-24.

นงคราญ มหาวัง, จงกลบดินทร แสงอาสภวิริยะ, ชัยยศ สัมฤทธิสกุล และ มาณวิน สงเคราะห์. (2559). การออกแบบระบบตรวจสอบย้อนกลับในโซ่อุปทานผักชียงดาเพื่อการพาณิชย์. การประชุมวิชาการสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ

วรชัย ศรีสมุดคำ, ณัฐพล ภู่ระหงษ์ และ พีรภัทร อิ่มทรัพย์. (2561). การสืบต้นย้อนกลับผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพแบบสุญญากาศของเกษตรกร จังหวักเพชรบูรณ์. วารสารราชธานีวิชาการ มหาวิทยาลัยราชธานี, 3, 203-211

วิทธวัช ราชรองวัง. (2560). ระบบตรวจสอบย้อนกลับโซ่อุปทานของนมพาสเจอร์ไรสฺเสริมฟูออไรด์ กรณ๊ศึกษา สหกรณ์โคนมพัทลุง จำกัด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

สมพล สุขเจริญพงษ์ และเดช ธรรมศิริ. (2561). การพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับโดยเทคโนโลยีรหัสคิวอาร์ และบรรจุภัณฑ์การค้าปลีกสำหรับส้มโอนครปฐม. วารสารวิชาการวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. 5(1), 67-78

อนุวัฒน์ ใจดี และ พุธษดี ศิริแสงตระกูล. (2557). ระบบติดตามและตรวจสอบย้อนกลับก้อนเชื้อเห็ด. 1020-1029

กังสดาล กนกหงส์ นฤเบศร์ รัตนวัน และปภพ จี้รัตน์. (2561). การยอมรับวิธีการปลูกพืชภายใต้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) ของเกษตรกร ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหม่อนเงาะ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 36(1), 75-84

นันทิยา ตันติดลธเนศ และ แสงทอง บุญยิ่ง (2563). ต้นแบบการตรวจสอบย้อนกลับการปลูกพืชอาหารปลอดภัยในชุมชนด้วยเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี. วารสารการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ, 6(1), 83-98

Hobbs, J. E., Bailey, D. V., D. L. and Haghiri, M. (2005). Traceability in the Canadian redmeat sector: Do consumers care?. Canadian Journal of Agricultural Economics, 53(1), 47-65