ความสัมพันธ์สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1

Main Article Content

มีศักดิ์ แสงศิลา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1  2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา 3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากร
ด้านสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่และขนาดสถานศึกษา 4) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรด้านประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่และขนาดสถานศึกษา 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 33 คน ครูผู้สอน จำนวน 298 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่า t – test (Independent sample) F – test (One – way ANOVA)ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 อยู่ในระดับมาก ทั้งภาพรวมและรายด้าน 2) ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน  
3) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรด้านสมรรถนะหลักของผู้บริหาร และครูผู้สอนจำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ พบว่า สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อจำแนกตามขนาดสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน มีสมรรถนะหลักในการบริหารสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งในภาพรวมและรายด้าน
4) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรด้านประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ทั้งในภาพรวมและรายด้าน 5) ความสัมพันธ์สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา พบว่า สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01 มีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับสูง (rxy= 0.828)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร โหวงเกิด. (2563). สมรรถนะหลักของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

กมลพัชร หินแก้ว. (2555). สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แนวทางการพัฒนานักบริหารสถานศึกษายุคใหม่. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ).

คณะกรรมการคุรุสภา. (2564). ประกาศคณะกรรมการคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2564. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 130. ตอนพิเศษ 165 ง. 12 พฤษจิกายน 2564 : 47 - 49

จตุรภัทร ประทุม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไทพนา ป้อมหิน. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนครพนม.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). สภาพปัญหาการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ วี.ที.ซี. คอมมิวเคชั่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสําหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น

ภาสกร หมื่นสา. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

ยืนยง ไทยใจดี. (2563). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. อุดรธานี : คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล.

สุริดา หลังจิ. (2556). ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.

อาราฟัด หัดหนิ. (2562). สมรรถนะหลักของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Hoy, W.K. and Ferguson, J. (1985). A Theoretical Frame work and Exploration of Organizational Effectiveness in School. Educational Administration Quarterly, 21(2), 121-122.

Mitrani, A., Dalziel, M. & Fitt, D. (1992). Competency Based Human Resource Management. London: Kogan Page

Mello, R. A. (2002). Organization Behavior in Education: Instructional Leadership and School Reform. (7th ed.). Boston: Allyn & Bacon.