ภาพยนตร์เอวีญี่ปุ่น (Adult Video) ที่ส่งผลกระทบต่อการเปิดรับการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ เอวีญี่ปุ่นในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 1) ผลกระทบต่อการเปิดรับการจัดจำหน่ายภาพยนตร์เอวีญี่ปุ่น (Adult Video) ในประเทศไทย และ 2) แนวโน้มความเป็นไปได้ในการจัดจำหน่ายภาพยนตร์เอวีญี่ปุ่น (Adult Video) ในประเทศไทย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือการวิจัยแบบสัมภาษณ์เจาะลึก (In-Depth Interview) จากบุคลากรในองค์กรใหญ่ต่างๆทั้ง 11 หน่วยงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยการจัดจำหน่ายภาพยนตร์เอวีญี่ปุ่นในสังคมไทย เพื่อนำข้อสรุปจากทัศนคติการเปิดรับที่หลากหลาย
ผลการวิจัย พบว่า ผลกระทบต่อการเปิดรับการจัดจำหน่ายภาพยนตร์เอวีญี่ปุ่น (Adult Video) ในประเทศไทยนั้น ค่านิยมด้านเพศของประเทศไทยมีข้อจำกัดการแสดงออกพฤติกรรมของคนในสังคม การเปิดรับต่อภาพยนตร์ประเภทสื่อลามกในประเทศไทยเป็นเรื่องที่ขัดต่อระบบกฎหมาย ซึ่งเน้นย้ำและปลูกฝังให้ประชาชนมีทัศนคติต่อภาพยนตร์เอวีญี่ปุ่นในเชิงลบ แม้ว่ามีกลุ่มจำนวนผู้บริโภคสื่อภาพยนตร์เอวีญี่ปุ่นลักลอบชมอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจสร้างปัญหาและภัยคุกคามทางเพศแก่สังคมได้ ทั้งทางด้านเด็กและเยาวชน การท่องเที่ยวไทย และระบบการปกครองกฎหมายพระราชบัญญัติทางด้าน แนวโน้มความเป็นไปได้ในการจัดจำหน่ายภาพยนตร์เอวีญี่ปุ่น (Adult Video) ในประเทศไทย พบว่า สามารถบ่งบอกถึงทิศทางความเป็นไปได้ในแง่มุมของการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมความบันเทิงของประเทศไทย แต่ในทางกลับกันโอกาสต่อการแก้ไขข้อกฎหมายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากสภาพของบริบททางสังคมไทยยังไม่ยอมรับเรื่องเพศให้เป็นเรื่องวิถีชีวิตปกติทั่วไป ดังนั้นความเชื่อต่อการประพฤติตนในศีลธรรมจึงเป็นข้อจำกัดทางความคิดของผู้คนในสังคมไทย ข้อกฎหมายต่างๆจึงไม่สามารถเพิ่มช่องทางใดให้แก่พื้นที่ภาพยนตร์เอวีญี่ปุ่นในประเทศไทย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
กาญจนา บุตรจินดา และคณะ. (2565). ปัจจัยในการเลือกรับชมเนื้อหาและการเปิดรับสื่อที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเจเนอเรชันแซดบนยูทูบในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 8(1), 40-49.
จิรากร สุขพัฒน์. (2560). การบริหารการนำเข้าภาพยนตร์แอนิเมชั่นจากประเทศญี่ปุ่นในประเทศไทย กรณีศึกษา บริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด (มหาชน). สารนิพนธ์นิเทศศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาภาพยนตร์ คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ชวรินทร์ ศิลปสุวรรณ. (2558). การเรียนของเยาวชนไทยเกี่ยวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นผ่านสื่อการ์ตูนญี่ปุ่น. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
บุษรินทร์ โทนหงสา. (2556). ทัศนคติและการเปิดรับของนักศึกษาไทยต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์เอวีของประเทศ ญี่ปุ่น (AV). ปริญญานิพนธ์บัณฑิต คณะมนุษยศาสตร, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุนิสา ใจชื่น. (2559). การวิเคราะห์การนำเสนอเนื้อหาและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของภาพยนตร์เอวี (AV) ในประเทศญี่ปุ่นที่ส่งผลให้เกิดความนิยมในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Dimoulas, C., & Kalliris, G., & Veglis, A,. (2014).Application of Mobile Cloud-Based Technologies in News Reporting: Current Trends and Future Perspectives. Computer Science, 338-365, Doi :10.4018/978-1-4666-4781-7.ch017.
Heung, W. W., & Hoi-yan Y. (2019). The Japanese Adult Video Industry. Routledge Culture, Society, Business in East Asia Series
Patrick W. Galbraith. (2021). 2: ‘For Japan Only?’ Crossing and Re-inscribing Boundaries in the Circulation of Adult Computer Games. In Media Technologies for Work and Play in East Asia (pp. 73-94). Bristol University Press.
Verhoeven, P. (2022). The Innovation of Values: Exploring the Role of News Media Exposure and Communication in Moral Progress in the Netherlands. Mass Communication and Society, 1-23. https://doi.org/10.1080/15205436.2022.2070501
Welzel, C. (2013). Evolution, empowerment, and emancipation: How societies ascend the utility ladder of freedoms. World Values Research, 6(1), 1–45.