8. แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารการตรวจสอบภายในการให้รหัสทางการแพทย์เวชระเบียนผู้ป่วยในของโรงพยาบาลวชิรพยาบาล

Main Article Content

วราภรณ์ ปานเงิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบงานในการตรวจสอบภายในการให้รหัสทางการแพทย์ และพัฒนาแนวทาง
การพัฒนาคุณภาพการบริหารการตรวจสอบภายในการให้รหัสทางการแพทย์ เวชระเบียนผู้ป่วยในของโรงพยาบาลวชิรพยาบาล รวมทั้งศึกษาความพึงพอใจต่อแนวทางดังกล่าวที่ถูกพัฒนาขึ้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยดำเนินการสัมภาษณ์เกี่ยวกับระบบงานและปัญหาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 14 คน ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานจริง และนำไปพัฒนาแนวทางในการตรวจสอบการให้รหัสทางการแพทย์ ประกอบด้วย รหัสโรค และรหัสหัตถการและการผ่าตัด หลังจากนั้นนำแนวทางที่ถูกพัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับ
กลุ่มตัวอย่างดังกล่าวเป็นเวลา 4 สัปดาห์ และสนทนากลุ่มแบบเจาะประเด็น (Focus Group) และประเมินความพึงพอใจ โดยใช้แบบสอบถามใน 3 ด้าน คือ 1) ด้านการตรวจสอบรหัสทางการแพทย์ 2) ด้านเครื่องมือสนับสนุนการทำงาน และ 3) ด้านแนวทางการพัฒนาคุณภาพของการให้รหัสทางการแพทย์


ผลการวิจัยในครั้งนี้ พบว่า ปัญหาในการตรวจสอบเวชระเบียนคือมีดำเนินการเพียง 2 ครั้งต่อปี เป็นการตรวจสอบแบบย้อนหลัง และยังไม่มีแนวทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ทำให้เกิดข้อผิดพลาดและไม่สามารถแก้ไขได้ทันเวลา ผู้วิจัยได้นำปัญหา
มาวิเคราะห์และพัฒนาแนวทางดังกล่าว โดยออกแบบให้ตรวจสอบในงานประจำ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือ 4 ครั้งต่อเดือน และเมื่อสิ้นสุดรายเดือน ให้มีการสรุปผลเพื่อประชุมติดตามผลการปฏิบัติงาน หลังจากนั้นนำไปทดลองปฏิบัติงานจริง และประเมินความพึงพอใจ พบว่า แนวทางดังกล่าวส่งผลให้การให้รหัสทางการแพทย์ มีความถูกต้อง ร้อยละ 94.16 และมีข้อผิดพลาด ร้อยละ 5.84 และทำให้
ค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ (Adjust Relative Weight; AdjRW) มีการเปลี่ยนแปลงโดยมีผลต่างเท่ากับ 0.38 ส่งผลให้สามารถเรียกเก็บค่าชดเชยทางการแพทย์ตามระบบวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnostic Related Groups; DRGs) ได้มากขึ้นกว่าเดิม และผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจ ประกอบด้วย 1) ด้านการตรวจสอบรหัสทางการแพทย์ ในระดับมากที่สุด (4.32±0.69) การตรวจสอบรายสัปดาห์ สามารถช่วยให้มีความถูกต้องมากขึ้น 2) ด้านเครื่องมือสนับสนุนการทำงานในระดับมาก (3.50±1.05) โรงพยาบาลมีหนังสือคู่มือการให้รหัสทางการแพทย์ครบถ้วน และ 3) ด้านแนวทางการพัฒนาคุณภาพของการให้รหัสทางการแพทย์ในระดับมาก (4.01±0.68) ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วม
ในการวางแผนการพัฒนา ข้อเสนอแนะจากการวิจัยในครั้งนี้คือ โรงพยาบาลควรนำแนวทางดังกล่าวไปใช้จริง พร้อมทั้งวิเคราะห์
อัตรากำลังคนในด้านการตรวจสอบเวชระเบียน เพื่อพัฒนางานและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

วราภรณ์ ปานเงิน, นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการเวชสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล

-

References

ปราณี คำแก้ว, ยิ่งยง เทาประเสริฐ, และกันยานุช เทาประเสริฐ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการบันทึกเวช ระเบียนในโรงพยาบาลสาธิตการแพทย์แผนไทยจังหวัดเชียงราย. วารสารมจรสังคมศาสตร์ ปริทรรศน์, 9(2), 62-72.

เพ็ญประภา พรศรีเมตต์ และกนกรัตน์ ไสยเลิศ. (2559). การพัฒนาประสิทธิภาพระบบการเบิกชดเชยค่าบริการสาธารณสุขในระบบ Diagnosis Related Groups. Journal of Health Science-วารสารวิชาการสาธารณสุข, 865-871.

วรรษา เปาอินทร์. (2561). การใช้ฐานประสบการณ์เพื่อเสริมประสิทธิภาพของระบบค้นหารหัสการจำแนกโรคระหว่างประเทศแบบอัตโนมัติ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของระบบ. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 9(1), 1-6.

วันดี วันศรีสุธน, ศุภโชค สิงหกันต์, และสุดสบาย จุลกทัพพะ. (2555). การศึกษาความคลาดเคลื่อนของการสรุปการ วินิจฉัยโรคและหัตถการที่มีผลต่อการให้รหัส ICD จากการตรวจสอบรหัส ICD real time ของผู้ป่วยในภาควิชาจิตเวชศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช. เวชบันทึกศิริราช, 5(2), 62-68.

ส้มแป้น ศรีหนูขำ, วราภรณ์ ปานเงิน, ธานี รักนาม, และยุพาพร วัฒนกูล. (2557). การศึกษาการสรุปรหัสคำวินิจฉัยโรคหัตถการและการผ่าตัดของค่ารักษาพยาบาลตามระบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน. Integrated Social Science Journal, 1(2), 125-143.

สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง. (2562). คู่มือการควบคุมภายใน 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (2562). แนวทางการบันทึกและตรวจประเมินคุณภาพ การบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยนอก/ฉุกเฉิน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

สิรินทร์ ภักดีพันธ์, ภูรี อนันตโชติ, ธิติมา เพ็งสุภาพ, และสมรัฐ ตระกูลกาญจน. (2557). สถานะทางการเงิน และคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลภายใต้กลไกการจ่ายเงินแบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม. วารสารไทยเภสัชศาสตร์ และวิทยาการสุขภาพ, 9(4), 213-221.

อรทัย เขียวเจริญ, ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย, ชัยโรจน์ ซึงสนธิพร, เบ็ญจมาส พฤกษ์กานนท์, และนิชนันท์ รอดเนียม. (2552).

การพัฒนากลุ่มโรคร่วมผู้ป่วยในจิตเวชฉบับที่ 3. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(1), 95-112.

อัญชลี อ่ำประสิทธิ์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้และแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ด้านรหัสทางการแพทย์. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2), 62-73.

อุทัย ทับทอง, สุดานดา สุขศาลา, และธันวา โอโรรัมย์. (2563). การพัฒนาเว็บไซต์คำนวณค่าสายตาในการให้รหัสทางการ แพทย์ของผู้ป่วยต้อกระจกสำหรับเจ้าพนักงานเวชสถิติโรงพยาบาลราชบุรี. UBRU Journal for Public Health Research, 9(1), 93-103.

อุไรพร โคตะมี, นิรุวรรณ เทรินโบล์, และสุทิน ชนะบุญ. (2560). การพัฒนาการบันทึกเวชระเบียนของทีมสหวิชาชีพ โรงพยาบาลไชยวานอำเภอไชยวานจังหวัดอุดรธานี. The Public Health Journal of Burapha University, 12(2), 1-14.

โอภาส วงศ์ศิลป์. (2563). การพัฒนาคุณภาพข้อมูลเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(1), 112-125.