กลยุทธ์นวัตกรรมบริการและการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการของลูกค้าธุรกิจ ที่พักแรมในจังหวัดชุมพร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเข้าพักแรมของนักท่องเที่ยว และอิทธิพลของกลยุทธ์นวัตกรรมบริการและส่วนประสมทางการตลาดบริการ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าธุรกิจพักแรมในจังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เคยใช้บริการธุรกิจที่พักแรมในจังหวัดชุมพร จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์ท่องเที่ยวลักษณะที่พักแรมแบบโรงแรม ประเภทห้องพักแบบมาตรฐาน วัตถุประสงค์ในการเข้าพักเพื่อพักผ่อนและนันทนาการ มีการตัดสินใจเข้าพักแรมด้วยตนเอง ระยะเวลาเข้าพักแรม 3-4 วัน และมีค่าใช้จ่ายการพักแรมเฉลี่ยต่อครั้ง 5,000-10,000 บาท 2) กลยุทธ์นวัตกรรมบริการ ส่วนประสมทางการตลาดบริการและการตัดสินใจของลูกค้าธุรกิจที่พักแรมในจังหวัดชุมพร ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน 3) กลยุทธ์นวัตกรรมบริการมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตัดสินใจของลูกค้าธุรกิจพักแรมในจังหวัดชุมพร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 2 ตัวแปร คือ ด้านข้อมูลสารสนเทศ (β = 0.229) และด้านสภาพแวดล้อม (β = 0.112) ส่วนประสมการตลาดบริการมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตัดสินใจของลูกค้าธุรกิจพักแรมในจังหวัดชุมพร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 6 ตัวแปร คือ ด้านผลิตภัณฑ์ (β = 0.137) ด้านราคา (β = 0.180) ด้านช่องทางจัดจำหน่าย (β = 0.172) ด้านการส่งเสริมการตลาด (β = 0.252) ด้านกระบวนการ (β = 0.314) และด้านประสิทธิภาพและคุณภาพการบริการ (β = 0.400)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2563 (Tourism Statistics 2020). สืบค้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2563. จาก https://mots.go.th
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). Service Research and Innovation Institute Asia Summit 2013. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2563. จาก http://ictandservices.blogspot.com/2013/09/method-model-and-tool-1.html.
กัญญ์วิญาณ์ ศิริศรีมังกร. (2562). ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการรับรู้ในคุณค่าการบริการโรงแรมในเขต อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ใน สำราญ บุญเจริญ (บ.ก.). รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 (94-104). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). ข้อมูลสถิติการท่องเที่ยว ปี พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2563. จาก https://www.mots.go.th/more_news.php
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). แผนปฏิบัติการของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2563. จาก https://portal.tourismthailand.org/fileadmin/downloads/pdf/.
ขวัญกมล ทองเนียม. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเข้าพักโรงแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวญี่ปุ่นในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยาและอำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
ณฐวัฒน์ พระงาม และถนัด ดาวเวียง. (2565). อิทธิพลของปัจจัยการตลาดต่อความตั้งใจใช้บริการธุรกิจที่พักแรมของนักท่องเที่ยวกลุ่มเจเนอเรชั่น Z ในเขตภาคเหนือตอนล่าง 1. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยเทพสตรี, 6(1), 71-87.
ณภัทร ธานีรัตน์ และภัคจิรา นักบรรเลง. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการโรงแรมในจังหวัดพิษณุโลก. โครงการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 (382-395). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ณัฐพร ดอกบุญนาค และฐาปกรณ์ ทองคำนุช. (2558). ความต้องการเลือกใช้โรงแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. กองทุนส่งเสริมการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
ดนุชา ฐานะ, อินทิรา เจริญชัยชนะวงศ์ และระชานนท์ ทวีผล. (2562). กระบวนการตัดสินใจเลือกที่พักแรมระดับ 5 ดาว
ของนักท่องเที่ยวสุภาพสตรีวัยทำงานชาวไทยในเขตภาคกลาง กรณีศึกษาเขตอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 7(1), 99-113.
ธงไชย สุรินทร์วรางกูร และสุธา พงศ์ถาวรภิญโญ. (2560). ธุรกิจโรงแรมในพื้นที่กรุงเทพมหานครกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตลาดและการส่งเสริมการขาย. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4(1), 66-74.
ธนาภรณ์ ทัศนภักดิ์. (2562). ความต้องการของนักท่องเที่ยวในการเลือกที่พักหรือโรงแรมในเขตอำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นวลปรางค์ ขันเงิน. (2562). กลยุทธ์การตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงแรมในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 10(2), 199-210.
บุษริน วงศ์วิวัฒนา. (2559). แนวทางการดำเนินธุรกิจโรงแรมใบไม้สีเขียวภายใต้คุณภาพการบริการในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. ใน เดชกุล มัทวานุกูล (บ.ก.). รายงานการประชุม การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 11 (552-565). สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
ประภัสสร ชัยวัง. (2556). ปัจจัยพฤติกรรมการใช้บริการโรงแรม คุณภาพการบริการ ส่วนผสมการตลาดบริการและคุณค่า
ตราสินค้าที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าชาวต่างชาติที่ใช้บริการโรงแรมระดับห้าดาวแห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์. (2554). การจัดการการตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รุ่งแสงการพิมพ์.
วีรวัลย์ ปิ่นชุมพลแสง และกอบกูล จันทรโคลิกา. (2561). การศึกษาปัจจัยการตัดสินใจเลือกเข้าพักโรงแรมและรีสอร์ทของประเทศไทยตามแนวชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตะวันตก. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 13(2), 35-50.
ศิริมา แก้วเกิด, ภคพล สุนทรโรจน์ และพิชุดา การีเวท. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกที่่พักแรมของนักท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 14(3), 85-95
ศุทธิกานต์ คงคล้าย และธัญเทพ ยะติวัฒน์. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกที่พักแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 11(ฉบับพิเศษ), 19-32.
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชุมพร. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดชุมพร พ.ศ. 2560-2564. ชุมพร: สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชุมพร.
สุนิษา เพ็ญทรัพย์. (2559). การศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการที่พักแบบรีสอร์ทในอำเภอเมือง จังหวัดระนอง. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 2(1), 1-12.
Brace, N., Kemp, R., & Snelgar, R. (2012). SPSS for Psychologists (5th ed.). New York: Palgrave Mcmillan.
Cochran, L. J. (1990). Essential of psychological testing. New York: McGraw-Hill.
Krejcie, R. V. & D. W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.
Maglio, P., Vargo, S. L., Caswell, N., & Spohrer, J. (2009). The service system is the basic abstraction of service science. Information Systems and E-Business Management, 7(4), 395-406.
Weng, M. H., Ha, J. L., Wang, Y. C. & Tsai, C. L. (2012). A study of the relationship among service innovation customer value and customer satisfaction: an industry in TAIWAN. International Journal of Organizational Innovation, 4(3), 98-112.