12. ผลของการจัดกิจกรรมทางพลศึกษาโดยใช้โปรแกรมการฝึกซ้อมกีฬาบาสเกตบอลที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา

Main Article Content

ประนอม เคหฐาน
รจนา ป้องนู

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการจัดกิจกรรมทางพลศึกษาโดยใช้โปรแกรมการฝึกซ้อมกีฬาบาสเกตบอล
ที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเวลาของการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มควบคุมและนักเรียนกลุ่มทดลอง และ 3) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเวลาของการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มควบคุมและนักเรียนกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 54 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย (Sample  Random Sampling) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มควบคุม จำนวน 27 คน ที่ฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกซ้อมบาสเกตบอลปกติ และกลุ่มทดลอง จำนวน 27 คน ที่ฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกซ้อมบาสเกตบอลปกติร่วมกับการฝึกความคล่องแคล่วว่องไว โดยใช้แบบทดสอบความความคล่องแคล่วว่องไวของซีโม (Semo agility test) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ Dependent samples t-test และ Independent samples t-test


            ผลการศึกษา พบว่า 1) หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มทดลองมีความคล่องแคล่วว่องไวดีขึ้นกว่าก่อนการฝึก อย่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) กลุ่มทดลองมีความคล่องแคล่วว่องไวดีขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีความคล่องแคล่วว่องไวดีขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ปรับปรุง 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2538). หลักและการฝึกเทคนิคกรีฑา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญเจือ สินบุญมา. (2558). ผลการฝึกแบบผสมผสานที่มีต่อความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไวว่องนักกีฬาวอลเล่ย์บอลระดับประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์คุรุศาตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญชม ศรีสะอาด. (2558). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที 2). สุรีริยาสาส์น. กรุงเทพฯ: สุรีริยาสาส์น.

ประจักษ์ สุวรรณธีระกิจ. (2558). ผลของการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาวอลเล่ย์บอลชาย. (วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ผกากาญจน์ มุ่งหน้าที่. (2557). ผลของการฝึกความคล่องตัวนักกีฬาเทนนิสวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์. (2556) เอกสารคำสอนระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). ปัตตานี: ฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา สำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ภัทรพนธ์ เหมหงส์. (2555). ผลการฝึกตารางเก้าช่องและความอ่อนตัวที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไว. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิศรุต ศรีแก้ว. (2557). ผลของรูปแบบการฝึกพลัยโอเมตริกระยะเวลา 4 สัปดาห์ ที่มต่อพลังกล้ามเนื้อและความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตบอล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิศาล ไหมวิจิตร. (2559). ผลของการฝึกวิ่งรูปแบบตัว Z และตัว S ที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาฟุตซอลหญิง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬามหาวิทยลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564. สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุชาติ สุวรรณเบญจางค์. (2555). ผลการฝึกที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาวอลเล่ย์บอล. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เสาวลักษณ์ ศิริปัญญา. (2555). ผลของการฝึกเชิงซ้อน แบบผสมผสานการฝึกด้วยน้ำหนักกับการเคลื่อนที่ในลักษณะแรงระเบิดที่มีต่อสมรรถภาพของกล้ามเนื้อในนักกีฬาเซปัคตะกร้อหญิงทีมชาติไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัจฉรา ช่วยจันทร์. (2559). ผลของการฝึกวิ่งรูปแบบตัว M ที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวของผู้เล่นกีฬาเทนนิส. (วิทยนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

Johson, B. L., & Nelson. J.K. (2015). Parctical measurements for evaluation in Physical education. (4 ed.). Minneapolis: MN: Burgess.

Miller, D. T. (2016). An Invitation to Social Psychology. Stamford: Thomson Wadsworth.

Thomas, K., French, D. & Hayes, P.R. (2017). The effect of two plyometric training Techniques On muscular power and agility in youth soccer players. J. Strength Cond Res.