4. วัฒนธรรมองค์การและสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร ในองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

เกรียงศักดิ์ แสงสว่าง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมการทำงานกับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 357 คน โดยใช้สูตรของเครจซี่และมอร์แกน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าเอฟ และการวิเคราะห์ผลทางสถิติแบบ Multiple Hierarchy Regression Analysis ผลการวิจัยพบว่า


  1. ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชายจำนวน 160 คน มีอายุ 31- 40 ปี จำนวน 131 คน มีระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวน 186 คน มีรายได้ต่อเดือน 20,001 – 25,000 บาท จำนวน 123 คน มีระดับตำแหน่งงานเป็นข้าราชการประจำ จำนวน 114 คน และมีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 5 – 10 ปี จำนวน 154 คน ตามลำดับ

  2. การเปรียบวัฒนธรรมองค์การและสภาพแวดล้อมการทำงาน โดยจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างสรุปว่า ภาพรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้นเพศ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05

  3. ความสัมพันธ์วัฒนธรรมองค์การและสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน พบว่าวัฒนธรรมองค์การด้านวัฒนธรรมส่วนร่วม (r =.943) สภาพแวดล้อมการทำงานด้านกายภาพ (r =.733**) โดยตัวแปรที่เป็นปัจจัยทำนาย ได้แก่ วัฒนธรรมองค์การ R2= 0.840, R2Adjusted=0.830, Sr2=3.340, F=23.52, p<0.001 และสภาพแวดล้อมการทำงานองค์การ (R2= 0.807, R2adjusted= 0.651, F=465.3, p< 0.001) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา.(2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา.

โกวิทย์ พวงงาม. (2558). ประชาธิปไตยทางการคลังไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ธนวัฒน์ วิเศษสมบัติ และ ฐิติมา ไชยะกุล. (2561). ผลกระทบของแรงจูงใจ ความพึงพอใจ และความผูกพันต่อองค์กร ที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการใอุตสาหกรรมยานยนต์ ของเขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด 1 จังหวัดระยอง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(3), 14-26.

ธนะพัฒน์ วิริต. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จการดำเนินธุรกิจ(SMEs) จากสภาวะการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของผู้ประกอบการในจังหวัดปทุมธานี. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(2), 458-473.

นิวัฒน์ รังสร้อย. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 8(2), 288-301.

พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2564). ประสิทธิผลการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 8(2), 15-31.

พีรพงศ์ กนกเลิศวงศ์ และธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 5(1), 109-121.

พีระพงษ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2565). การบริหารองค์การที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.). วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 6(3), 809-822.

วรชัย สิงหฤกษ์ และวิโรจน์ เจษฏาลักษณ์.(2560). อิทธิพลของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงาน ผ่านความผูกพันต่อองค์การของลูกจ้างสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(2), 203-210.

ศิราณี เมฆลอย. (2565). การบริหารจัดการองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในองค์การคลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(2), 323-336.