การบริหารจัดการทางการตลาดที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจในการซื้อบ้านที่อยู่อาศัยในจังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

วณิศญดา วาจิรัมย์
กฤติยา อิศวเรศตระกูล
ณัฏฐ์วัฒน์ ภควันฉัตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารจัดการทางการตลาด และระดับการตัดสินใจในการซื้อบ้านที่อยู่อาศัยในจังหวัดนนทบุรี 2) เปรียบเทียบคุณลักษณะการบริหารจัดการทางการตลาดที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจในการซื้อบ้านที่อยู่อาศัยในจังหวัดนนทบุรี จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ 3) ศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการทางการตลาดที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจในการซื้อบ้านที่อยู่อาศัยในจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชากรที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 400 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .976 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติความแปรปรวนทางเดียว และใช้สถิติการถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ อาชีพ อายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนกับกระบวนการตัดสินใจในการซื้อบ้านที่อยู่อาศัยในจังหวัดนนทบุรี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 และ 2) ผลการทดสอบปัจจัยการบริหารจัดการทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการซื้อบ้านที่อยู่อาศัยในจังหวัดนนทบุรี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีตัวแปร 5 ด้าน คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (β = .188) ด้านลักษณะทางกายภาพ (β = .183) ด้านผลิตภัณฑ์ (β = .169) ด้านกระบวนการ (β = .126) และด้านบุคลากร (β = .124) มีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 56.5

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ ศรีจันหล้า. (2557). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์ของคนกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษา บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

กัญจน์พัฒน์ ไร่สูงเนิน. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (ห้องชุด) ของบริษัท เอ็ม บี เค การันตี จำกัด ของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย. วารสารการเงิน การ ลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ มหาวิทยารังสิต, 6(2), 482-495.

ขวัญใจ ช้างหลา. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านเดี่ยวราคามากกว่า 5 ล้านบาท ของผู้บริโภคที่มีผู้สูงอายุในครอบครัวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไชยพงศ์ เอกจิตรพันธ์. (2552). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการ ตัดสินใจเลือกซื้อบ้านที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้สูงในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธัช สหเมธาพัฒน์ และนลินี เหมาะประสิทธิ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธัญวิชญ์ ศิริทัพ. (2561). การตัดสินใจซื้อบ้านเดี่ยวของผู้บริโภคในเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต, 14(1), 143-163.

นพคุณ เลียงประสิทธิ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านเดียวในอำเภอละงู จังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นราธิป แนวคำดี และคณะ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อบ้านจัดสรรในเขตจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 7(1), 120-134.

ปรัชญาภรณ์ เพไร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ภายใต้การปล่อยสินเชื่อบ้านของสถาบันการเงิน. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

รณภัฎ อภิชาตวณิชกุล. (2559). ปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในเขตตำบลบางเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สรวัสส์ บุญหยง. (2563). การศึกษาปัจจัยการเลือกซื้อบ้านจัดสรรของบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2563, จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/556

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). รายงานการสำรวจประชากรในประเทศไทย พ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2564, จาก: http://service.nso.go.th/

Cohen, Jacob and Cohen, Patricia. (1983). Applied Multiple Regression/Correlation Analysis for the Behavioral Sciences. Second Edition. U.S.A. : La Wrence Erlbaum Associates. Publishers.

Cronbach, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.) New York: Wiley. Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.