14. การศึกษาการลดเวลาของขั้นตอนการผลิตมัดหมี่ กรณีศึกษากลุ่มทอผ้า จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ปริญญา ธุระพระ
กวินภพ ศรีวัฒนานุศาสตร์

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการลดเวลาของขั้นตอนการผลิตผ้ามัดหมี่ให้มีขั้นตอนของการมัดหมี่
ที่รวดเร็วขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มทอผ้า ในจังหวัดอุดรธานี 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มทอผ้ามัดหมี่ภูไทบ้านหนองหญ้าไช ตำบลหนอง
หญ้าไช อำเภอวังสามหมอ มีสมาชิกจำนวน 3 คน  2) กลุ่มทอผ้าบ้านโนนสวรรค์ ตำบลท่าลี อำเภอกุมภวาปี มีสมาชิก จำนวน 4 คน 3) กลุ่มทอผ้า ธ.มณโฑ ตำบลหมูม่น อำเภอเมืองอุดรธานี มีสมาชิกจำนวน 2 คน  4) กลุ่มทอผ้าไทพวนบ้านผือ ตำบลบ้านผือ อำเภอ
บ้านผือ มีสมาชิกจำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์ของปัญหาในขั้นตอนการมัดหมี่ การบันทึกขั้นตอนการทำงานโดย
การสังเกตเพื่อหาค่าความถี่ของความสูญเสีย 7 ประการ และการบันทึกเวลาและการเคลื่อนไหวในขั้นตอนของการมัดหมี่โดย
การบันทึกแบบวีดีโอ


ผลการศึกษาพบว่า การสัมภาษณ์ถึงปัญหาในขั้นตอนการมัดหมี่มีปัญหาหลักของขั้นตอนการมัดหมี่คือ การผลิตมัดหมี่ล่าช้า โดยผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลค่าความถี่ของความสูญเสีย 7 ประการ โดยการสังเกตของขั้นตอนการมัดหมี่ทั้ง 4 กลุ่มดังกล่าว พบว่า 2 สาเหตุหลักเกิดจาก การเคลื่อนไหว และ การผลิตที่ไม่เหมาะสม สูงถึงร้อยละ 84.38 โดยใช้เวลาในการมัดหมี่เฉลี่ยเป็นเวลา 43 นาทีต่อการมัดเชือกฟางเพื่อทำลวดลาย 150 มัด จากกรณีศึกษาผู้วิจัยได้เปลี่ยนวัสดุการมัดเดิมจากการใช้เชือกฟางเป็นสายรัดเคเบิ้ลไทร์ขนาดความกว้าง 4.8 มิลลิเมตร และทดลองมัดเพื่อทำลวดลาย150 มัด พบว่าสามารถลดเวลาในการมัดหมี่ลงได้เฉลี่ย 26 นาที จาก 43 นาที เหลือ 17 นาที

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คลอเคลีย วจนะวิชากร. (2559). การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตเพื่อลดความสูญเปล่าและเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา กรณีศึกษา ชุมชนเครื่องปั้นดินเผาปากห้วยวังนอง จังหวัดอุบลราชธานี. บทความวิจัย วารสารวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 9(2), 39-46.

จุฑารัตน์ ศรีโยวงศ์. (2546). แนวทางการพัฒนาตลาดของธุรกิจผ้าไหมในเขตอำเภอชนบทจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เปรมหทัย อมรเพชรสถาพรและสรวดี ศรีษะโคตร.(2547). อุปกรณ์มัดหมี่ผ้าไหมมัดหมี่. รายงานโครงการ IE2004_29 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปัญญา วิจินธนสาร และคณะ. (2544). ผ้าทอพื้นเมือง-การสำรวจผู้ผลิตทั่วประเทศ โครงการพัฒนาผ้าพื้นเมืองในทุกจังหวัด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิภาวี สีลากุล.(2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของกลุ่มผู้ทอผ้าไหมมัดหมี่ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารธรรมทรรศน์, 16(2), 13-22.

วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา. (2546). ความรู้พื้นฐานเคมีเส้นใยสิ่งทอ. Colourway, 8(45), 15-17.