ปัญหาการเยียวยาและชดเชยความเสียหายกรณีลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงาน

Main Article Content

ณรรฐพล สมอุดม
ปรมาภรณ์ วีระพันธ์
ภีชญา จงอุดมการณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องปัญหาการเยียวยาและชดเชยความเสียหายกรณีลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการเยียวยาและค่าเสียหายกรณีลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงาน ให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรม เนื่องจากปัจจุบันค่าเสียหายจากการประสบอันตรายจากการทำงานตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ไม่สอดคล้องกับความร้ายแรงของการกระทำละเมิด ความร้ายแรงของอาการบาดเจ็บ และผลกระทบที่ลูกจ้างหรือทายาทของลูกจ้างจะได้รับ ตลอดจนสิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพของลูกจ้าง


ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาสำคัญ คือ การใช้สิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายและการกำหนดค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดในศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ยังไม่ชัดเจนทำให้ยังเกิดข้อต่อสู้ในประเด็นเขตอำนาจของศาลแรงงานส่งผลให้ลูกจ้างใช้สิทธิทางศาลน้อย ตลอดจนการกำหนดค่าเสียหายในคดีศาลต้องใช้ดุลพินิจพิจารณาให้ครอบคลุมทุกด้านซึ่งเป็นหลักเกณฑ์กว้าง ๆ ไม่มีความชัดเจน และสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากการทำงานตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศกำหนด


จึงมีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 9 กำหนดแนวทางการตีความให้การเรียกค่าเสียหายของลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากการทำงานไม่ว่าจะอยู่ในสัญญาจ้างแรงงานหรือสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดไปแล้วอยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาสั่งคดีของศาลแรงงาน มาตรา 48 และมาตรา 52 กำหนดค่าเสียหายในส่วนค่าขาดไร้อุปการะ และค่าเสียหายเพื่อการเสียความสามารถประกอบการงาน เป็นค่าเสียหายพื้นฐานให้แก่ลูกจ้างซึ่งประสบอันตรายจากการทำงานหากข้อเท็จจริงเข้าองค์ประกอบของข้อกฎหมาย และกำหนดค่าเสียหายทางจิตใจให้สอดคล้องกับความร้ายแรงของการกระทำละเมิด อาการบาดเจ็บ และผลกระทบที่ลูกจ้างหรือทายาทของลูกจ้างจะได้รับ ตลอดจนเป็นการป้องปรามให้นายจ้างผู้กระทำความผิดเกิดความเข็ดหลาบ และสร้างการรับรู้ให้แก่คนในสังคมตระหนักถึงการปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานอย่างถูกต้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนก จุลมนต์. [ม.ป.ป.]. ระบบศาลและกระบวนพิจารณาคดีแพ่งของประเทศสิงคโปร์. สำนักการต่างประเทศศาลยุติธรรม.

กองทุนประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน. (2559). ค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2565, จากhttp://capr.tsu.ac.th/UserFiles/

ธนวัชร กิติโกมลสุข. [ม.ป.ป.]. การกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษในกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธีระ ศรีธรรมรักษ์. [ม.ป.ป.]. มุมมองและข้อสังเกตเกี่ยวกับการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ของประเทศไทยว่าด้วยความมั่นคงทางสังคม. คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

เนติบัณฑิตสภา. [ม.ป.ป.]. บรรยายเนติ ครั้งที่ 7 “กฎหมายเงินทดแทน”. ค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.thethaibar.or.th/thaibarweb/files/Data_web/dowloads_doc/term1/isara/isara7.pdf/

บวรศักดิ์ อุวรรโณ. (2537). ระบบการควบคุมฝายปกครองในประเทศอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพนิติธรรม.

ปริญญาวัน ชมเสวก. (2550). ค่าเสียหายเชิงลงโทษในคดีละเมิด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รังสรรค์ กุลาเลิศ, สราวุธ ศิริภาณุรักษ์, ไกรยง ติวราภรณ์ศานติ์, ชาติชาย เหลืองอ่อน และ นฤภร จันทรักษ์. (2561, กันยายน). หลักการห้ามเลือกปฏิบัติและการให้ความคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยในการจ้างงาน : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายการจ้างงานของประเทศอังกฤษและกฎหมายแรงงานไทย. สำนักการต่างประเทศ: ศาลยุติธรรม.

ศรันยา สีมา. (2561,มีนาคม). “ค่าเสียหายเชิงลงโทษ”. รายการ ร้อยเรื่อง...เมืองไทย สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา และสำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ศาลฎีกา. [ม.ป.ป.]. ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา. ค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2565, จาก http://deka.supremecourt.or.th/

สมศักดิ์ เอี่ยมพลับใหญ่. (2562). คดีแรงงาน แนวความคิดในการอธิบายความหมายปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาพร้อมคำพิพากษาศาลฎีกา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม.

สราวุธ สุธรรมาสา. (2563,พฤษภาคม). “การสูญเสียจากการประสบอันตรายจากการทำงาน”. สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (ส.อ.ป.). ค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2565. จาก https://www.ohswa.or.th/17563109/accident-loss

ส่วนระบบงานคอมพิวเตอร์ สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ ศาลยุติธรรม. (2561, ตุลาคม). ค้นคำพิพากษาของศาลชั้นต้น. ค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2565, จาก https://decision.coj.go.th/decision/

อังคณา เตชะโกเมนท์. (2551, มกราคม). ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ. กลุ่มงานมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน กระทรวงแรงงาน.

Darcey Herett. (2018). A Critical Review of Bereavement Damages in England and Wales. Retrieved May 16, 2018, from https://www.aber.ac.uk/en/media/departmental/lawampcriminology/researchpages/pdf/publications/auslcj2015/A-Critical-Review-of-BereavementDamages-in-England-and-Wales.pdf.

Stuart M. Speiser and Stuart S. Malawer. (1976). American Tragedy: Damages for Mental Anguish of Bereaved Relatives in Wrongful Death. Tulane Law Review, 51(1). Retrieved September 13, 2017, from https://heinonline.org/HOL/Page?handle=hein.journals/tulr51&div=10&g_sent=1&casa_token=&collection=journals#