ปัญหาการวินิจฉัยจุดเวลาที่การแสดงเจตนามีผลในธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กรณีที่ผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูลแลกเปลี่ยนข้อมูลบนระบบเดียวกัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ลักษณะสำคัญหนึ่งของการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์คือต้องมีการ “ส่ง” การแสดงเจตนาผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทางใดทางหนึ่งเสมอ ดังนั้นการพิจารณาว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ถูก “ส่ง” ออกไปแล้วหรือไม่ถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยว่ามีการแสดงเจตนาแล้วหรือไม่เลยทีเดียว การวินิจฉัยว่ามีการส่งข้อมูลฯ แล้วหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ร่างขึ้นตามกฎหมายแม่แบบว่าด้วยการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ค.ศ. 1996 (UNCITRAL Model Law on Electronic Commerce 1996) ซึ่งบัญญัติให้ถือว่ามีการ “ส่ง” ข้อมูลฯ เมื่อข้อมูลนั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ส่งข้อมูลแล้ว แต่บทบัญญัตินี้ไม่อาจปรับใช้กับการส่งข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูลแลกเปลี่ยนข้อมูลบนระบบเดียวกันได้ เนื่องจากข้อมูลฯ นั้น ไม่มีทางที่จะเข้าสู่ระบบข้อมูลที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ส่งข้อมูลฯ เลย จึงไม่อาจถือได้ว่ามีการส่งข้อมูลที่เป็นการแสดงเจตนา อันจะส่งผลต่อการเกิดขึ้นของสัญญาอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นบทความนี้จึงศึกษาการแก้ไขกฎหมายของประเทศเกาหลีใต้และประเทศออสเตรเลีย ซึ่งได้ร่างกฎหมายตามกฎหมายแม่แบบเช่นเดียวกัน แต่ได้มีการแก้ไขการกำหนดเวลาในการ “ส่ง” ข้อมูลฯ แล้ว เพื่อที่จะนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
พินัย ณ นคร. (2561). กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในยุคดิจิทัล. วิญญูชน: กทม.
ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์. (2561). คำอธิบายนิติกรรม-สัญญา. วิญญูชน: กทม.
Alan Davidson. (2012). The Law of Electronic Commerce. Cambridge University Press: USA.
ELECTRONIC TRANSACTIONS AMENDMENT BILL 2011.
Framework Act on Electronic Commerce.
Hill, Simone W. B. (2001). Email contracts-When is the contract formed. Journal of Law, Information and Science, 12(1), 46.
Rajab Ali. (2009). Technological Neutrality. Lex Electronica, 14(2), 1-15.
The Parliament of the Commonwealth of Australia. Electronic Transactions Amendment Bill 2011: Explanatory Memorandum.
UN Comm'n on Int'l Trade Law,. (1996). UNCITRAL Model Law on Electronic Commerce with Guide to Enactment.
United Nations Convention on the Use of Electronic Communications in International Contracts.
Won-Jin Kang & Chang-Sook Lee. (2007). Interpretation and Application of Time and Place of Dispatch and Receipt of Electronic Records in Electronic Transactions. International Commerce and Information Review, 9(3), 287-304.