การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid – 19) ของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

จุฑามาศ การะเกษ
วรพล คล่องเชิงศร
ทิพยวรรณ แพงบุปผา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหาสถานศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี 2) ศึกษาประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษา และ 4) ศึกษาการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) โดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครชซี่และมอร์แกน และเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) โดยใช้ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนเป็นชั้นในการแบ่งกลุ่ม  ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 317 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาใรโรงเรียนเอกชน จำนวน 53 คน ครูผู้สอน จำนวน 264 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 317 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random  sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t - test (Independent sample) F - test (One - way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัยพบว่า 1) จัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (Covid-19) ของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุด คือด้านการหลีกเลี่ยง รองลงมาคือด้านการประนีประนอม และด้านที่มีการปฏิบัติต่ำสุด คือ ด้านการร่วมมือ  2) ประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของโรงเรียนเอกชน อยู่ในระดับมากที่สุดทั้งในภาพรวมและรายด้าน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารกับประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19) มีความสัมพันธ์ในทางบวกในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise  multiple regression analysis)  ของจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของโรงเรียนเอกชน ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านการหลีกเลี่ยง ด้านการร่วมมือ ด้านการยอมให้ ส่งผลต่อตัวแปรเกณฑ์คือ ประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยมีค่าสหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .87 มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยโดยรวมเท่ากับ .76 และสามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษาได้ร้อยละ 76 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และค่าความคลาดเคลื่อนที่จะเกิดจากการพยากรณ์เท่ากับ .16

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัชากร คัชมาตย์. (2562). ความขัดแย้งระหว่างบุคคลและความขัดแย้งภายในองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผล การปฏิบัติงานของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในเขตตำบลท่าพล จังหวัดเพชรบูรณ์.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

แทนลัดดา ปัฐพี. (2559). การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหา สาขาวิชาการบริหาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ประกาทิพย์ ผาสุข. (2551) การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาลำพูน เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปิยะ จะเฮิง. (2558). การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจ ในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตาก เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

มาเดีย มะทอง. (2556). การจัดการความขัดแย้ง ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

เย็นจิตร ทิพมาตร. (2560). การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อบรรยากาศของโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐในจังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

เยาวเรศ บัวขาว. (2560). ประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหารในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

วนิดา เนาวนิตย์. (2563). การจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2579. กรุงเทพฯ : พริกหวากราฟฟิค.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2540). ความขัดแย้ง: การบริหารเพื่อความสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ แกรมมี่.

อัฐพล ธนะวงศ์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผนู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพะเยา.

อัฒนศักดิ์ สิทธิ. (2561). องค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย ราชภัฏสกลนคร.

Cash, C., M. (1991). Conflict management climate and procedures in selected public elementary school in South Carolina. Dissertation Abstract International

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W., (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.

Mott, P. E. (1972). The Characteristic of Effective Organization. New York : Harper and Row.Pimentel, J. L. (2010).

Pimentel, J. L. (2010). A note on the usage of Likert Scaling for research data analysis. USM R&D Journal, 18(2), 109-112.

Thomas- Killmann (1987). Conflict Mode Instrument. New York: Xicom