9. ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

กีรติ การะเกษ
รอง ปัญสังกา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี 2) ศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนเอกชน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนกับวัฒนธรรมโรงเรียนเอกชน 4) ศึกษาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน ที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมโรงเรียนเอกชน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 317 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณ 5 ระดับ ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91  สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) และค่าการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
แบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)


ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวม และรายด้าน  โดยด้านที่มีภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการสูงสุด คือ ด้านการฟัง รองลงมาคือ ด้านการเห็นอกเห็นใจ ส่วนด้านที่มีภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการต่ำสุดคือ ด้านการโน้มน้าวใจและไว้วางใจ 2)วัฒนธรรมโรงเรียนเอกชน อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวม และรายด้าน โดยด้านที่มีวัฒนธรรมโรงเรียนสูงสุด คือ ด้านการยอมรับ รองลงมาได้แก่ ด้านความมีคุณภาพ ส่วนด้านที่มีวัฒนธรรมโรงเรียนต่ำสุด ด้านเป้าหมายของโรงเรียน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนกับวัฒนธรรมโรงเรียนเอกชน พบว่า ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับวัฒนธรรมโรงเรียนเอกชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในระดับสูง (rXY = .878) 4) ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมโรงเรียนเอกชน ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านการฟัง ด้านการโน้มน้าวใจและไว้วางใจ ด้านการมองการณ์ไกลและมีวิสัยทัศน์ และด้านดูแลรักษา มีค่าสหสัมพันธ์พหุคูณกับตัวแปรเกณฑ์ คือ วัฒนธรรมโรงเรียนเอกชน เท่ากับ .89 มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยโดยรวมเท่ากับ .78 และสามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษาได้ร้อยละ 78 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มาเขียนเป็นสมการพยากรณ์วัฒนธรรมโรงเรียนเอกชน  ได้ดังนี้


สมการพยากรณ์ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมโรงเรียนเอกชนในรูปคะแนนดิบ มีดังนี้


Y = 1.70 + .29X5 + .14X4 + .11X3 + .08X1


สมการพยากรณ์ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมโรงเรียนเอกชนในรูปคะแนนมาตรฐาน มีดังนี้


Z = .45Z5 + .23Z4 + .17Z3 + .11Z1

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คมธนู ควรประเสริฐ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการทำงานของครู โรงเรียนเอกชนในเครือเซนต์มารีอา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป : ทฤษฏี วิจัยและปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : เนติกุลการพิมพ์.

บุญประกร พันธุ์พูล. (2562). ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมโรงเรียนของโรงเรียนที่สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ปรัชญานันท์ ไชยหล่อ. (2562). ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

พุทธพงศ์ หลักคำ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการ ทำงานเป็นทีมของครูสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 2. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ยืนยง ไทยใจดี. (2565). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. อุดรธานี. วิทยาลัยสันตพล.

ลักขณา ธานี. (2560). วัฒนธรรมโรงเรียนตามความคิดเห็นของบุคลากรโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 สังกัดเทศบาลนคร แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Dennis, R. S. & Bocarnea, M. (2005). Development of the servant leadership assessment instrument. Leadership & Organization Development Journal, 26(8), 600 - 615.

Greenleaf, R. K. (2002). Servant Leadership : A Journey into the Nature of Legitimate Power and Greatness. New Jersey : Paulist Press.

Russell, R. F., & Stone, A. G. (2002). A review of servant leadership attributes: Developing a practical model. Leadership & Organization Development Journal, 23, 145 - 157.

Sergiovanni, T. J. (1988). Supervision Human Perspectives 4thed. Baston : McGraw - Hill.

Spears, L.C. (2002). Servant leadership: Quest for caring leadership. Reflections on Robert K. Greenleaf and servant-leadership. Leadership & Organization Development Journal, 17(7), 33 - 35.

Van Dierendonck, D., & Nuijten, l. (2011). The servant leadership Survey: Development and Validationof a Multidimensional Measure. Journal of Business and Psychology, 26, 249 - 267.