การสร้างและออกแบบลวดลายผ้าขิดยกดอกจังหวัดเพชรบูรณ์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคณิตศาสตร์

Main Article Content

ทิวาพร ขันผนึก
อภิวัฒน์ คำภีระ
ชัยณรงค์ ขันผนึก
สุพรรษา น้อยนคร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1)  ศึกษาและการออกแบบลวดลายผ้าขิดยกดอก จังหวัดเพชรบูรณ์ ด้วยโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad : GSP 2)  ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบลวดลาย  ผ้าขิดยกดอก  ด้วยโปรแกรม GSP และ 3) ถ่ายทอดองค์ความรู้การออกแบบลวดลายผ้าขิดยกดอกด้วยโปรแกรม  GSP  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้  ได้แก่  สมาชิกกลุ่มทอผ้าโฮงหูกยกขิด หมู่ 5 บ้านวังร่อง ตำบลห้วยไร่ อำเภอหล่มสัก  จังหวัดเพชรบูรณ์  จำนวน  17  คน  นักศึกษาชั้นปีที่  1  สาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ  ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา  MATH503  เรขาคณิตแบบยุคลิค  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา 2565 จำนวน  11  คน  และผู้เชี่ยวชาญ  3  คน  รวมทั้งสิ้น  จำนวน  31  คน  เครื่องมือที่ใช้  ได้แก่  1)  แบบสอบถามสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านลวดลายผ้าและการใช้โปรแกรม  GSP  2)  แบบสอบถามความพึงพอใจของสมาชิกกลุ่มทอผ้าโฮงหูกยกขิดที่มีต่อวิธีการทอผ้าขิดที่ทอด้วยลักษณะการข่มที่แตกต่างกัน  4  รูปแบบ  3)  แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เข้ารับการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบลวดลายผ้าขิดยกดอกด้วยโปรแกรม GSP


ผลการวิจัยพบว่า  1)  ผู้เชี่ยวชาญมีความพึงพอใจในการออกแบบและมีความเหมาะสมในนำไปทอเป็นลวดลายผ้าอยู่ในระดับมาก  ทั้ง  2 ลาย  แต่เมื่อพิจารณาแล้ว  ลายที่  2  มีองค์ประกอบของลายผ้าตรงตามทฤษฎีการออกแบบ และสอดคล้องกับเอกลักษณ์ความเป็นไทยมากกว่าลายที่ 1   2) สมาชิกกลุ่มทอผ้า “โฮงหูกยกดอก” มีความพึงพอใจและความคิดเห็นเกี่ยวกับลวดลายที่เกิดจากการทอผ้าขิดยกดอกที่แตกต่างกัน  4  ลักษณะ  อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ลักษณะ  คือ  การทอแบบ ข่ม 2 ข่ม 3 ข่ม 1และ ข่ม 4  ตามลำดับ และ 3) ผู้เข้ารับการอบรมมีความคิดเห็นต่อการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบลวดลายผ้าขิดยกดอกด้วยโปรแกรม GSP ในด้านความรู้ความสามารถ  อยู่ในระดับมาก และรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูง 2 รายการแรก คือ ความสามารถในการใช้เครื่องมือโปรแกรม GSP ออกแบบลวดลายผ้าขิดยกดอก และ มีความมั่นใจในการนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ ส่วนด้านคุณภาพของการอบรม อยู่ในระดับมาก โดยมีรายการที่อยู่ในระดับมากที่สุด คือ วิทยากรมีเทคนิคในการถ่ายทอดความรู้ และในระดับมากรองลงมาเป็น ความพร้อมของโสตทัศนูปกรณ์  และ สามารถในการนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้หลังจากได้รับการอบรม  ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชูศักดิ์ ยาทองไชย และ วิไลรัตน์ ยาทองไชย. (2565). การพัฒนาออกแบบลายผ้าเพื่อการสร้างสรรค์และสืบสานภูมิปัญญาผ้าไทย. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาสาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 13(2), 198-212.

พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร. (2551). วิธีการทอผ้า. เอกสารอัดสำเนา.พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สิทธิชัย สมานชาติ. (2553). รายงานผลการดำเนินงานโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมการสำรวจหลักฐานผ้าและเครื่องแต่งกายโบราณของชาวอีสานจากฮูปแต้มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทสไทยเพื่อเป็นฐานข้อมูล. อุบลราชธานี: คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยสถาบันราชภัฏพระนคร.

อัญชลี ธรรมะวิถีกุล.(2552). การทอผ้ามุกบ้านติ้ว. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://panchalee.wordpress.com/2009/10/06/local_curric (วันที่ค้นข้อมูล : 5 ตุลาคม 2564)

Potiyaraj, P., and Udomkichdecha, W. (2006). 3D Simulation of Woven Structures by Virtual Reality Modeling Language. Bang kok: Chulalongkorn University. Retrieved from https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/CU.res.2006.2, September 20, 2022.

Ruxpakawong, U. (2014). The Wale Image Analysis of Woven Clothes (JOK and KHID) by the Computer Program Using as Woven handed Prototype of Phitsanulok Province. Phitsanulok: Pibulsongkram Rajabhat University.