ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและความผูกพันต่อองค์กรของนักบัญชีในสำนักงานบัญชีในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

ศิขรินทร์ กล่ำชุ่ม
อาภรณีน์ อินฟ้าแสง
ดวงตา สราญรมย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 2) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์กร 3) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและความผูกพันต่อองค์กรของนักบัญชีในสำนักงานบัญชีในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่าง 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามตามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการวิจัย พบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานและความผูกพันต่อองค์กร ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและความผูกพันต่อองค์กรของนักบัญชีในสำนักงานบัญชีในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนากร ปันวารี. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทํางานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน สายการบินนอร์วีเจียน ประจําประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท. สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะการบริหารและจัดการ, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ทาริกา สระทองคำ. (2563). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท. สาขาการบริหารธุรกิจ. คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ไทยเท็กซ์. (2565). จรรยาบรรณและการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย. วารสารจรรยาบรรณทางธุรกิจบริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน).

ทศพล ผลาผล. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการ กรณีศึกษา: บริษัท ผลิตวิทยุติดรถยนต์แห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท. สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะการบริหารและจัดการ, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ธวัชชัย แจ้งเจริญ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจและความผูกพันในองค์กรของบุคลากรในกลุ่มเจเนอเรชันวายของ บริษัท อสังหาริมทรัพย์ จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท.สาขาการบริหารธุรกิจ. คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

ธเณศ เฮงตระกูลสิน. (2565). สำนักงานบัญชี / ผู้ทำบัญชี ที่ดีหาได้อย่างไร?. Tanateauditor journal.

นิพดา พูลสุวรรณ์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจและความผูกพันของบุคลากรโรงพยาบาลประกันสังคม เขตจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ระดับ ปริญญาโท. สาขาการบริหารธุรกิจ. คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547. (2547). พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547. พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี.

รุจิรา ตัณฑพงษ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท. สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ. คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิเชียร อินทรสัมพันธ์ และคณะ (2563). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานครฯ : วรานนท์ เอ็นเตอร์ไพรส์.

สถาพร สังข์ขาวสุทธิรักษ์. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรในโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี. สารนิพนธ์. สาขาการบริหารสถานศึกษา.คณะบริหารสถานศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สิษธวัช จันทร์พล. (2565). แรงจูงใจในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน โรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท. สาขาการบริหารธุรกิจ. คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2565). แผนการส่งเสริม SME. แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2564-2565.

ศิวา หลาบคำ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานและผลการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา : บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน). วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2), 26 – 33.

Allen, N. J., and Meyer, J.P., (1990). The Measurement and Antecedents of Affective, Continuance, and Normative Commitment to the Organization. Journal of Occupational Psychology, 63: 1-8.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of Psychological testing. 5th ed. New york : Harper Collins Publishers, lnc.

Frederick Herzberg, (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons.

Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, Reading in Attitude Theory and Measurement. P.90-95. Fishbeic, Matin, Ed. New York : Wiley & Son.

Yamane, T. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper &row.