มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความกตัญญูของประเทศไทย

Main Article Content

รุจินันท์ วาธีวัฒนารัตน์

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้เป็นบทความวิจัยที่มุ่งประเด็นการนำเสนอเนื้อหาสำคัญที่เกี่ยวกับบทบาทของกฎหมายเพื่อสร้างความกตัญญูต่อสังคมไทย  มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ 1) เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความกตัญญูของไทย 2) เพื่อศึกษาแนวทางการใช้มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความกตัญญูของไทยในอนาคต  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาวิจัยประกอบด้วย พิพากษาศาลยุติธรรม  ทนายความ  เจ้าหน้าที่และนักวิชาการที่เกี่ยวกับเด็กและคนชรา  คนชรา  เด็กซึ่งเป็นบุคคลทั่วไป  รวมทั้งสิ้น 101  คน เทคนิคในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้วิจัยใช้เทคนิคสโนบอลล์ ผู้วิจัยทำการศึกษาโดยการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ระดับลึก และจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม  จาการวิจัยพบว่ามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความกตัญญูของไทยไม่มีบัญญัติไว้ชัดเจน  แต่บัญญัติหลักการไว้ในกฎหมายแพ่ง อาญาและหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลักดังกล่าวมีความเกี่ยวพันกับการส่งเสริมความประพฤติของบุคคลในการใช้เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตในรูปแบบของแนวทางปฏิบัติ  ไม่ใช่กฎเกณฑ์  คำสั่ง  หรือข้อบังคับที่ถูกสร้างขึ้นโดยผู้มีอำนาจสูงสุด  ไม่ใช่คำแนะนำทางกฎหมาย ที่ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งของสังคม  ทั้งไม่ได้มีความผูกพันในการตีความ  ไม่มีเรื่องสภาพบังคับและบทลงโทษเป็นเครื่องมือในการทำให้บุคคลในสังคมต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์นั้นๆ  อย่างไรก็ตามการส่งเสริมและควบคุมความประพฤติของบุคคลในการใช้เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตของคนในสังคมไม่สามารถเกิดขึ้นและขับเคลื่อนต่อไปได้หากไม่มีความเชื่อมโยงกับกฎหมาย  และควรมีมาตรการทางกฎหมายที่บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐเพิ่มมาตรการในการคุ้มครองดูแลผู้สูงวัยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). ปัญหาของผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564. จาก http://www.dop.go.th/th/know/15/461.

กวิสรา ตันซู้. (2563). การคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคที่เป็นผู้สูงอายุ. วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์, 13(1), 15-27.

กิจบดี ก้องเบญจภุช. (2554). หลักกฎหมายมหาชน. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2546). คำอธิบายกฎหมายอาญาภาค 1. กรุงเทพฯ: จิรรัชการพิมพ์.

ไกรฤกษ์ เกษมสันต์. (2561). รวมคำบรรยายภาคหนึ่ง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 กฎหมายอาญา. กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

ทวีเกียตริ มีนะกนิษฐ. (2560). กฎหมายอาญา ภาคความผิด. (พิมพ์ครั้งที่ 12 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ธัญวรรณ ศรีพุ่ม. (2558). ขอบเขตบุพการีในประมวลกฎหมายอาญา ศึกษากรณีการตั้งครรภ์แทน. ในวิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

บุษกร วัฒนบุตร และคณะ. (2560). คนดีที่มีความกตัญญูบนพื้นฐานพระพุทธศาสนา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(พิเศษ), 77-86.

ประภัสสร เสวิกุล. (2556). กฎหมายกตัญญู. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2564. จาก https://www.komchadluek.net/news.

พระเทพรัตนสุธี. (2557). การดูแลบิดามารดาตามแนวทางพระพุทธศาสนา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษย์และสังคมศาสตร์, 1(2), 65-74.

พระมหาศุภชัย สุโภภาโส. (2560). การศึกษาเชิงวิเคราะห์วิธีการปฏิบัติตนตามหลักกตัญญูกตเวทีในพุทธปรัชญาเถรวาทของคนไทย. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 8(1), 50-61.

พระมหาสากล สุภรเมธี (เดินชาบัน). (2560). ความกตัญญูกตเวทิตาธรรมเป็นเครื่องส่งเสริมให้เกิดสันติภาพในสังคม. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 1(2), 27-35.

เพ็ญจันทร์ ประดับมุข – เชอร์เรอร์และคณะ. (2557). การสร้างภูมิคุ้มกันภัยทางสังคมให้แก่ผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: บริษัท Golden time Printing จำกัด.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

รัชนี แตงอ่อน. (2562). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ กรณีฉ้อโกงผู้สูงอายุ ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยและสหรัฐอเมริกา. วารสารการเมือง การบริหารและกฎหมาย, 11(2), 59-89.

ลม เปลี่ยนทิศ. (2557). กฎหมายลูกกตัญญู. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2564. จากhttps://www.thairath.co.th/content/403578.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2557). ประชากรสูงอายุไทย:ปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพฯ: มปท.

สมบูรณ์ วัฒนะ. (2560). การดูแลบิดามารดาสูงอายุตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาของครอบครัวไทยพุทธ, วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(2), 67-80.

สมยศ เชื้อไทย. (2556). ความรู้กฎหมายทั่วไป คำอธิบาย วิชากฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ : วิญญูชน.

สรวง สิทธิสมาน. (2563). ความกตัญญูจากวัฒนธรรมสู่กฎหมายเพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนให้ประเทศจีน. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2564. จาก https://adaybulletin.com/know-mahamangkorn-gratitude-law/53904.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2548). สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2564. จาก www.lawreform.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2555). พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำราญ สามเพชรเจริญ และคณะ. (2560). รูปแบบการปลูกฝังความกตัญญูกตเวทีสำหรับนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดนครปฐม. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 13(พิเศษ), 270-278.

สุขสมัย สุทธิบดี. (2555). กฎหมายอาญา ภาค 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุวรรณฐา ลึมและคณะ. (2562). แนวทางส่งเสริมกตัญญูกตเวทีในสังคมไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(2), 424-434.

หยุด แสงอุทัย. (2556). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อนุสรณ์ ปรกกโม และคณะ. (2563). แนวทางการปลูกฝังคุณธรรมแก่เยาวชนของศูนย์อบรมคุณธรรมค่ายพุทธบุตร วัดหนองเลิง อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร, วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(4), 1404-1417.

อภิชาติ คำพวง. (2563). คติด้านความกตัญญูในวัฒนธรรมจีน : ภาพสะท้อนจริยธรรมจีนผ่านสำนวน. วารสารมนุษย์ศาสตร์สาร, 21(1), 137-157.

อรรถชัย วงศ์อุดมมงคล. (2549). การใช้มาตรการอื่นแทนโทษทางอาญา:ศึกษาเฉพาะกรณีความผิดบางประการ. ในวิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัจฉรียา ชูตินันทน์. (2562). นิติวิธีในการตีความกฎหมายอาญาของประเทศไทย. วารสารสุทธิปริทรรศน์, 33(107), 247-261.

อุกฤษ มงคลนาวิน. (2541). กฎหมายเบื้องต้นสำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.