16. แนวทางการส่งเสริมศักยภาพทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ปุญญ์นิรันดร์ อังศุธีรกุล
ศรุต ชำนาญธรรม
พศวรรตร์ วริพันธ์

บทคัดย่อ

งาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดจันทบุรีด้าน กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ วิถีชีวิตที่เป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติ 2) เพื่อประเมินปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการในทัศนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ งานวิจัยเรื่องนี้ดำเนินงานวิจัยโดยวิธีศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (Key Informant) จาก ตัวแทนภาครัฐ ตัวแทนภาคเอกชน ตัวแทนภาคชุมชน ตัวแทนภาคนักท่องเที่ยว ตัวแทนภาคนักวิชาการ จำนวน 40 คน โดยผู้วิจัยเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive) โดยการคำนึงถึงผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่สามารถตอบวัตถุประสงค์ และคำถามของการวิจัยในครั้งนี้ได้ เป็นการเลือกผู้ให้ข้อมูลจากผู้ที่มีหน้าที่ด้านการวางแผนส่งเสริมองค์กรและผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจในการกำหนดแนวทางการส่งเสริมองค์กรนั้น ๆ รวมทั้งผู้ที่มีผลประโยชน์ หรือได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยวบริเวณแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้าสรรค์ในจังหวัดจันทบุรี โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ SWOT และ TOWS Matrix เพื่อวางแนวทางในการส่งเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดจันทบุรี


ผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดจันทบุรี ในด้านวัฒนธรรมและประเพณี ด้านเอกลักษณ์เฉพาะ ด้านวิถีชีวิตที่เป็นส่วนหนึ่งกับทรัพยากรธรรมชาติ การมีส่วนร่วมของชุมชนที่เชื่อมโยงกับกิจกรรมของนักท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ให้เข้าถึงทรัพยกรการท่องเที่ยวกับเอกลักษณ์เฉพาะพื้นที่ให้ประสบการณ์กับนักท่องเที่ยว และสร้างแรงจูงใจและพฤติกรรมในการเดินทางมาท่องเที่ยว 2) ปัจจัยส่วนประสบทางการตลาดบริการมีผลต่อการเดินทางมาท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยในทัศนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละด้านเพื่อดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยว และ 3) แนวทางการส่งเสริมศักยภาพจาก กลุยุทธ์เชิงรุก โดยการสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ผลักดันยกระดับเทศกาลประเพณีในท้องถิ่นให้มีความยิ่งใหญ่ระดับประเทศ กลยุทธ์เชิงป้องกัน โดยสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว ส่งเสริมปลูกจิตสำนึกในเรื่องเอกลักษณ์และคุณค่าวัฒนธรรมท้องถิ่น กลยุทธ์เชิงแก้ไข โดยการเพิ่มสาธารณูปโภคพื้นฐานที่กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยส่งเสริมการตลาด การวางแผนการจัดทำปฏิทินเทศกาล เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้กำหนดวางแผนการเดินทางมาท่องเที่ยวได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนก บุญศักดิ์. (2565). การศึกษากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนสุขสมบูรณ์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 16(1), 80-91.

กนกวรรณ ศิลสว่าง. (2562). แนวทางพัฒนาส่วนประสมการตลาด การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 6(2), 131-146.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2565. จาก https://anyflip.com/zzfck/kiel/basic.

กัมปนาท เพชรแก้ว. (2560). การให้ความหมายและกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์กรณีศึกษา วัดขนอน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2565. จาก http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1626/1/57602329.pdf.

จุฑาธิปต์ จันทร์เอียด. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จากเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และความหลากหลายของทรัพยากรทางธรรมชาติในพื้นที่ เกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง, วารสารกระแสวัฒนธรรม, 20(38), 66-80

เบญจมาภรณ์ ชำนาญฉา. (2561). การท่องเที่ยวเชิงอาหาร: ศักยภาพและความได้เปรียบของประเทศไทย. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 24(1), 103-116.

ปวีณา งามประภาสม. (2563). แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดสำหรับการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษาชุมชนท่องเที่ยวบ้านเมาะหลวง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 22(2), 115-126.

มติชนออนไลน์. (2561). ททท.งัด 7 คัมภีร์ Go Local บุกครึ่งหลังปี 61 ต่อยอด 4 เดือนแรก 55 เมืองรองโกย 8 หมื่นล้าน. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.matichon.co.th/publicize/news_1018615.

รพีพรรณ จันทับและ ลินจง โพชารี. (2559). ปัจจัยด้านอัตลักษณ์ทรัพยากรท่องเที่ยวที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดการท่องเที่ยวหมู่บ้านช้างบ้านตากลาง จังหวัดสุรินทร์. วารสารการจัดการ, 5(1), 48-59.

รัมภ์รดา สารอูป. (2564). การศึกษาความพึงพอใจตแหล่งท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการกลับมาเยือนซ้ำ ณ บ่อน้ำพุร้อนฝาง อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(1), 136-146.

สาธิญา รุ่งพิพัฒนพงศ์. (2558). องค์ประกอบของความยั่งยืนสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : กรณีศึกษา ชุมชนอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 11(2), 115-140.

สุภางค์ จันทวานิช. (2559). วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อนันต์ คติยะจันทร์. (2564). การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมโดยชุมชนเป็นฐานรากพื้นที่ชายแดนไทย จังหวัดหนองคาย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(1), 188-200.

อภิศักดิ์ คู่กระสังข์. (2561), การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จากวรรณกรรมพื้นบ้าน. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(2), 309-321.

อิสระพงษ์ พลธานี และอุมาพร บุญเพชรแก้ว. (2561). การศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 38(5), 18-39.

อุทิศ ทาหอม. (2558). ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ ชุมชนบ้านตามา จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 11(2), 57-70.

Chugh, S., R. (2018). Creative Tourism: An Endogenous Approach to Developing Culturally and Environmentally Sustainable Tourism. International Journal of Hospitality & Tourism Systems, 11(1), 60-66.

Pawaskar, P., & Goel, M. (2014). A conceptual model: Multisensory marketing and destination branding. Procedia Economics and Finance, 11, 255–267.

Richards, G. and Wilson, J.(2006) Developing creativity in tourist experiences: a solution to the serial reproduction of culture?. Tourism Management, 27, 1408-1413.

Richards, G., & Raymond, C. (2000). Creative Tourism. Retrieved July 6th, 2022, from https://www.academia.edu/1785786/Creative_Tourism_Richards_and_Raymond_2000.

Wisudthiluck Suddan et al. (2011). Creative tourism model. Funded by General Designated Areas for Sustainable Tourism. Retrieved July 6th, 2022, from http://doc.qa.tu.ac.th.