17. แนวทางคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมจากจำนวนประโยคคำซ้ำต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ ในบทเพลงลูกทุ่งไทย

Main Article Content

ปิยเกียรติ สาวิกันย์
จักรินทร์ สมมติ
สายชล ดวงแก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ เกิดจากปัญหาการกำหนดขอบเขตเพื่อใช้พิจารณาคดีที่เกิดขึ้นจากการประพันธ์เพลงที่มีจำนวนประโยคคำซ้ำในงานดนตรีกรรมว่าควรจะมีในระดับใดจึงจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ รวมทั้งจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายบัญญัติในเรื่องดังกล่าว


ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการกำหนดจำนวนประโยคคำต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมของบทเพลงลูกทุ่งไทย 2) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดจำนวนประโยคคำซ้ำต่อการขจัดการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมของบทเพลงลูกทุ่งไทย 3) ศึกษาแนวทางที่ใช้ในการกำหนดจำนวนประโยคคำที่ดีและเหมาะสมต่อการขจัดการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมของเพลงลูกทุ่งไทย ข้อมูลเชิงคุณภาพได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเลือกมาแบบเจาะจง จำนวน 5 คน ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ผู้ที่เป็นนักร้องนักดนตรีนักประพันธ์อาชีพและบุคลากรในเพลงลูกทุ่งไทย ณ ปัจจุบัน จำนวน 250 คน กลุ่มตัวอย่าง 152 คน โดยใช้ตารางของเครจซี่ และมอร์แกน เก็บข้อมูลระหว่าง พฤษภาคม 2565 ถึง มีนาคม 2566  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


  1. วงดนตรีลูกทุ่งไทยเริ่มมีการก่อตั้งมาประมาณ 40 ถึง 60 ปี การสร้างสรรค์ดนตรีลูกทุ่งไทยมักจะมาจากการชื่นชอบบทเพลงใดๆ และผู้ประพันธ์จะนำมาใช้เป็นแรงบันดาลใจ แต่บางเพลงมีการใช้เนื้อเก่าทำนองเดิมหรือเนื้อเดิมทำนองใหม่จนคนไม่สามารถจำทำนองเก่าๆ ได้หรือจำต้นฉบับไม่ได้

  2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดจำนวนคำซ้ำต่อการขจัดการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ในบทเพลงลูกทุ่งไทย พบว่า จำนวนและร้อยละของข้อมูลทั่วไปส่วนมากเป็นชายจำนวน 95 คน คิดเป็นร้อยละ 62.5 ชาย อายุน้อยกว่า 31 ปี 38 คน คิดเป็นร้อยละ 25.0 และระหว่าง 36 – 40 ปี 38 คน คิดเป็นร้อยละ 25.0 การศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป 76 คน คิดเป็นร้อยละ 50.0 ระยะเวลาการเป็นศิลปินเพลงลุกทุ่ง น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 114 คน คิดเป็นร้อยละ 75.0 จำนวนอัลบั้มที่นำเสนอสู่สาธารณชน จำนวน 1 อัลบั้ม จำนวน 143 คน คิดเป็นร้อยละ 94.0 ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ภาพรวมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.56 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.64 ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก

  3. แนวทางที่ใช้ในการกำหนดจำนวนประโยคคำที่ดีและเหมาะสม จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 32 โดยเพิ่มอนุมาตรา (9) ให้บัญญัติเพิ่มว่า “การทำซ้ำ ดัดแปลง นำแสดงออก ซึ่งบางส่วนของงาน หรือตัดทอน หรือทำให้ปรากฏ ของประโยค คำ จังหวะ และดนตรีซ้ำกันซึ่งมีความคล้ายคลึงกันในลำดับคอร์ด และโน้ตที่ไม่มีความสำคัญอันเกิดขึ้นโดยบังเอิญที่มิได้เกิดจากความจงใจของผู้สร้างสรรค์ ที่มีประโยค คำ จังหวะ และดนตรีซ้ำกันไม่เกินร้อยละ 30 หรือไม่เกิน 5 ประโยค หรือ 20 คำ จากในงานดนตรีกรรมเดิม” เพื่อให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมต่อผู้สร้างสรรค์ที่เกิดจากความบังเอิญของคอร์ด โน้ต หรือจังหวะดนตรีที่เป็นสามัญ จากความบังเอิญของพยัญชนะไทยมี 44 ตัว 21 เสียง สระมี 21 รูป 32

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธีรวัชร์ แสงไชย. (2562). ปัญหากฎหมายลิขสิทธิ์เกี่ยวกับการทำงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงมาดัดแปลงโดยวิธีการ Remix. วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

รัชนี แสนเหวิน. (2552). แนวคิดทางสังคมและวัฒนธรรมในบทเพลงลูกทุ่งของ สลา คุณวุฒิ. บทความวิชาการ. สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

วิระ บำรุงศรี. (2558). การบริหารจัดการวงดนตรีลูกทุ่งในประเทศไทย กรณีศึกษาวงดนตรีลูกทุ่ง บุญศรี รัตนัง, นกน้อย อุไรพร, อาภาพร นครสวรรค์, เอกชัย ศรีวิชัย, บทความวิจัย. คณะวิทยาลัยดุริ ยางคศิลป์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อรสินี เชาวเลิศ. (2563). ปัญหาการดัดแปลงงานดนตรีกรรม ศึกษากรณี cover เพลง เปรียบเทียบกับงานสร้างสรรค์สืบเนื่อง (Derivative Works) และงานแปลงรูป(Transformative Works). บทความวิชาการ. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Ewald, Julie, and Paul G. Oliver. (2017). UK copyright and Limits of music Sampling.