ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3

Main Article Content

สมพงษ์ อัสสาภัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3   2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียน การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาระดับภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา ของสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 จำนวน 240 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามภาวะผู้นำเหนือผู้นำ มีค่าอำนาจจำแนก 0.30 - 0.74  และมีค่าความเชื่อมั่น 0.96  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ทำการวิจัย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา    


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านการกระตุ้นให้บุคลากรตั้งเป้าหมายด้วยตนเอง มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา ด้านการสร้างรูปแบบความคิดทางบวก และด้านการแสดง เป็นแบบฉบับให้บุคลากรเป็นผู้นำตนเอง และ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารควรศึกษาจุดบกพร่องตนเอง สร้างตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีพฤติกรรมและปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ให้โอกาสผู้อื่นปฏิบัติงานจนมีความก้าวหน้า สร้างขวัญกำลังใจและให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน ทั้งยังมอบความเชื่อใจในการทำงาน ไม่แสดงออกซึ่งพฤติกรรมเชิงลบ สร้างความตระหนักต่อสิ่งที่สร้างสรรค์องค์กรให้ดีงาม ปฏิบัติงานด้วยเป้าหมายแห่งอุดมการณ์ที่มุ่งมั่น สามารถสร้างแรงบันดาลใจต่อเพื่อนร่วมงาน แนะนำแนวทางการทำงานอย่างจริงใจและสม่ำเสมอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กวี วงษ์พุฒ. (2550). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ :บีเคอินเตอร์พริ้น.

กุลชลี จงเจริญ. (2556). ภาวะผู้นำและการบริหารการเปลี่ยนแปลง.ประมวลสาระชุดวิชาการ การพัฒนาทักษะและประสบการณ์ วิชาชีพ สำหรับผู้นำทางการศึกษา. นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2554). การศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน : การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีสยาม.

จีรานุช มูลประเสริฐ. (2554). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลเมือง ศรีราชา. งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2554). ภาวะผู้นำองค์กรยุคใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.

ชาญณรงค์ พงษ์ขยัน. (2556). การศึกษาภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. งานนิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐยา สินตระการผล. (2555). การพัฒนาภาวะผู้นำยุคการเปลี่ยนแปลง. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ดารุณี พิพัฒนผล. (2551). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี : วารสารบัณฑิตศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

เนติกุลการพิมพ์. เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2552). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พยัต วุฒิรงค์. (2555). ภาวะผู้นำจากแนวคิดสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : บริษัท วี พริ้นท์ จำกัด.

ภูมิพงศ์ จอมหงส์พิพัฒน์. (2556). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเหนือผู้นำสำหรับการปกครองส่วนท้องถิ่น : วารสารบัณฑิตศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกล.

ยงยุทธ เกษสาคร. (2552). ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : วี.เจ.พริ้น ติ้ง.

ลออ วิลัย. (2557). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. มหาวิทยาลัยปทุมธานี,

วรรณดี ชายสมุทร. (2559). การศึกษาภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขต จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). ภาวะผู้นำ ทฤษฎีและนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : ทิพย์วิสุทธิ์

วีรชาติ วิลาศรี. (2550). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา. เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

วีระวัฒน์ ปันนิดามัย. (2544 ). ผู้นำการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส แอนด์ กราฟฟิค.

ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2549). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. ทริปเปิล เอ ก๊อปปี.

สัมมา รธนิธย์. (2553). ภาวะผู้นำของผู้บริหาร. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง และประยุทธ ชูสอน. (2557). ภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตน์ : แนวคิดและการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์นานาวิทยา.

Achua, C.F. , and Lussier, R.N. (2010). Effective Leadership. Canada: South-Western Cengage Learning.

Blase, J and Blase J. (2001). Empower Teacher: What Successful Principle Do. Thousand Oask : Corwin Press.

Di Benedetto, H. (1998). Modeling: difference between state of knowledge and applications. Day LAVOC: Federal polytechnic school of Lausanne (FPSL).

Du Brin, A.J. (2007). Leadership Research Findings, Practice, and Skills. Fifth Education. Boston: Houghton Mifin

Flavia, L. E. (2004) . Super leadership: The impacts and implications for public education. New York : Harper & Row.

Manz, C. , & Sims, H.P. (2001) .The new super leadership : Leading others to lead themselves. Sanfrancisco: Berrett-Koehler