การพัฒนาหลักสูตรเสริมการวิเคราะห์รายการค้าทางการบัญชี โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2

Main Article Content

กฤษธร ใจจันทร์
เกษทิพย์ ศิริชัยศิลป์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมการวิเคราะห์รายการค้าทางการบัญชี โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรเสริมการวิเคราะห์รายการค้าทางการบัญชี โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาการบัญชี จำนวน 50 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการบัญชีเบื้องต้น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หลักสูตรฯ 2) คู่มือการใช้หลักสูตรฯ และ 3) การหาค่าดัชนีประสิทธิผลของหลักสูตร 4) ค่าสถิติทดสอบทีและระดับนัยสำคัญทางสถิติของการทดสอบเปรียบเทียบก่อนเรียนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาหลักสูตรฯ มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของหลักสูตรฯ อยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.74 ,
S.D. = 0.47) คู่มือการใช้หลักสูตรฯ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.67, S.D. = 0.54)  ดัชนีประสิทธิผลของหลักสูตรฯ มีค่าเท่ากับ 0.7432 แสดงให้เห็นว่าหลักสูตรฯ มีผลให้นักเรียนมีการวิเคราะห์รายการค้าทางการบัญชี โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือได้อย่างมีประสิทธิผล คิดเป็นร้อยละ 74.32  2) การศึกษาผลการวิเคราะห์รายการค้าทางการบัญชีพบว่า นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2552). คำชี้แจงกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน. กรุงเทพมหานคร: สวัสดิการ กรมทะเบียนการค้า. พิมพ์ครั้งที่.

เกษทิพย์ ศิริชัยศิลป์. (2559). การพัฒนาหลักสูตรความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามแนวการเรียนรู้แบบรอบรู้สำหรับนักศึกษาครู. หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2556). การพัฒนาหลักสูตรทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐชานนท์ โกมุทพุฒิพงศ์. (2563). การบัญชีขั้นต้น. กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน ทฤษฏีการเรียนรู้แบบร่วมมือ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธํารง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร : การออกแบบหลักสูตรและพัฒนา. กรุงเทพฯ: ธนธัช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พิกุล พงษ์กลาง. (2552). หลักการบัญชี 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด(มหาชน).

มารุต พัฒผล. (2562). รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

รัตนะ บัวสนธ์. (2551). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

รุจิร์ ภู่สาระ. (2551). การพัฒนาหลักสูตรตามแนวปฏิรูปการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:บริษัทบุ๊ค พอยท์ จำกัด.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาน์น.

วริศรา เหล่าบำรุง. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ด้วยเทคนิคแบบกลุ่มร่วมมือที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนวิชาการบัญชีต้นทุน 1. หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2549). เอกสารคำสอน การพัฒนาหลักสูตรและการสอน. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2530). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2551). การพัฒนาการเรียนการสอนภาควิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: วงเดือน.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562.

สุพจน์ เอี่ยมอดุลย์. (2550). การจัดการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร. ลำปาง: ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

อรทัยภ์ ทำมา. (2559). การพัฒนาความรู้ทักษะวิชาชีพทางบัญชีโดยใช้การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือวิธี STAD. วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Carl S.Warren, James M.Reeve and Philip E.Fess, Accountinv. 20th ed., South-western, Ohio, 2001.

Jerry J. Weygandt, Donald E.Kieso, and Paul D.Kimmel. Accounting Principles. 5th ed. New York: John Wiley & Sons. 1999.

Needles, Anderson, Caldwell. Principles of Accounting. Houghton Mifflin. 1998.

Robert N.Anthony, David F.Hawkins and Kenneth A.Merchant. Accounting: Text and Cases. 10th ed., McGraw-Hill, 1999.

Saylor..G.,&Alecander, W.M. 1974. Curriculum Planning for modern Schools. New York : Hoit, Rinehart & Winston.