ผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านไทยที่มีต่อการจัดการความเครียด ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

ภูวดล เกิดศักดิ์
นิรุตติ์ สุขดี
รจนา ป้องนู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการจัดการความเครียดก่อนและหลังการจัดกิจกรรม
พลศึกษาโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านไทย และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนความเครียดกับระดับคะแนนเฉลี่ยการจัดการความเครียด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนาวังศึกษาวิช ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 55 คน เครื่องมือวิจัยโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านไทย จำนวน 8 แผน แบบวัดความเครียดกรมสุขภาพจิต (SPST – 20) และแบบประเมินพฤติกรรมการจัดการความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ (Dependent sample t-test)  และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ 0.05


            ผลการวิจัยพบว่า ระดับความเครียดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายก่อนการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้
เกมการละเล่นพื้นบ้านไทยอยู่ระดับปานกลางและหลังการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับน้อย และมีระดับการจัดการความเครียดก่อนการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านไทยอยู่ระดับปานกลางและหลังการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมาก ระดับการจัดการความเครียดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหลังได้รับการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านไทยสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และระดับของการจัดการความเครียดและระดับความเครียดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีความสัมพันธ์กันในเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
เกิดศักดิ์ ภ. ., สุขดี น. ., & ป้องนู ร. . (2025). ผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านไทยที่มีต่อการจัดการความเครียด ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 11(1), 1–10. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/273186
บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2562). คู่มือคลายเครียดฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัท บียอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด.

ปริวัตร ปาโส และพนิดา ชูเวช. (2565). พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 11(1), 113-119

ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์. (2561, 4 กันยายน). สื่อสารให้เข้าใจความเครียดในเด็กวัยรุ่น. เข้าถึงจาก https://www.chula.ac.th/cuinside/7625.

วนัญญา แก้วแก้วปาน. (2564). การศึกษาความเครียดของนักเรียนวัยรุ่นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 จังหวัดสมุทรสงคราม. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2560). รวบรวมบทความเกี่ยวกับปรัชญา หลักการ วิธีสอน และการวัดเพื่อประเมินผลทางการพลศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วาสนา คุณาอภิสิทธิ์ (2556). เป้าหมายของการจัดกิจกรรมทางกายในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการ. 39(1), 16-39.

สำนักงานสนับสนุนส่งเสริมสุขภาพ. (2562, 20 พฤษภาคม). ห่วงวัยรุ่นฆ่าตัวตาย เสี่ยงซึมเศร้า. เข้าถึงจาก https://www.thaihealth.or.th/Content/49151-2.html

สุจิตรา อู่รัตนมณี และ สุภาวดี เลิศสําราญ. (2560). ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าของนักเรียนวัยรุ่นที่เตรียมตัวสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย. วารสารพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 31(2), 78-94.

สุธิดา พลชํานิ และเกศนีย์ อิ่นอ้าย. (2565). ผลของการใช้ชุดกิจกรรมการจัดการความเครียดของวัยรุ่นต่อความสามารถในการจัดการความเครียดของวัยรุ่น. มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(6), 183 – 198.

สุนิสา ตะสัย,ประชา ฤาชุตกุล และวิรัตน์ ธรรมาภรณ์. (2551). ความเครียดและการแก้ปัญหาความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดสงขลา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 19(2), 101 – 114.

สุภาพหวัง ข้อกลาง. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและความเครียดของนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารสุขศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพวิทยาลัยนครราชสีมา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

Bookwalter. K. W. (1969). Foundations and Principle of Physical Education. Vander Zwagg: W. B. Saunders Company, Philadelphia; 1St Edition (January 1, 1969).

Lemay, V., Hoolahan, J. & Buchanan, A. (2019). Impact of a Yoga and Meditation Intervention on Students' Stress and Anxiety Levels. American Journal of Pharmaceutical Education, 83(5), 747-752. doi: 10.5688/ajpe7001