ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการทางภาษี : กรณีศึกษาการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการ จ้างแรงงานผู้สูงอายุของสถานประกอบการ

Main Article Content

บัญชา วิทยอนันต์
กำธร กำประเสริฐ
อดุลย์ ทานาราช
พรทิพย์ พิมพ์สุรโสภณ
โยษิตา ศรีทองกูล

บทคัดย่อ

บทความทางวิจัย ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการทางภาษี : กรณีศึกษาการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุของสถานประกอบการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและมาตรการทางกฎหมาย ในการนำมาตรการลดหย่อนภาษีของสถานประกอบการในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ และศึกษาข้อดี ข้อบกพร่องตลอดถึงปัญหาทางกฎหมายของสถานประกอบการและผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบทางกฎหมาย และปัญหาอุปสรรคต่อการส่งเสริมการจ้างแรงงานผู้สูงอายุของสถานประกอบการ  โดยศึกษาวิเคราะห์พระราชฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร(ฉบับที่ 639) พ.ศ. 2560 ที่บังคับใช้ในปัจจุบันที่ไม่สอดคล้องกับสภาพสิทธิประโยชน์ในทางภาษีของและงานผู้สูงอายุและสถานประกอบการ


            จากการศึกษาวิเคราะห์ ปัญหา อุปสรรค เกี่ยวกับการนำมาตรการลดหย่อนภาษีของสถานประกอบการในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ ดังนี้คือ ในการใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อลดหย่อนภาษีของสถานประกอบการ รัฐได้ออกพระราชกฤษฎีกาซึ่งเป็นกฎหมายของฝ่ายบริหารเพื่อส่งเสริมและให้ความคุ้มครอง ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีการแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ง่ายนับเป็นข้อดีของการ
เลือกออกกฎหมายบังคับใช้โดยรัฐและในประเด็นนี้เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายเฉพาะคือพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ ในเรื่องสิทธิของผู้สูงอายุตามมาตรา 11 รัฐควรปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติผู้สูงอายุในด้านสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุและสถานประกอบการที่จ้างแรงงานผู้สูงอายุ อันเป็นการรองรับมาตรการในการส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อให้การส่งเสริมการจ้างแรงงานผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตเกี่ยวกับบทบัญญัติในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ยังไม่สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบททางสังคมและเศรษฐกิจหลายประการ ที่ควรจะต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เหมาะสม เช่น สถานประกอบกิจการตามมาตรา 3 แห่งพระราชฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรฯ กำหนดเฉพาะบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเท่านั้น ซึ่งไม่ครอบคลุมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญธรรมดาหรือคณะบุคคล  และการกำหนดจำนวนลูกจ้างผู้สูงอายุไม่เกินร้อยละ 15 ของจำนวนลูกจ้าง ซึ่งเป็นการกำหนดจำนวนที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ และบทบัญญัติที่เจาะจงเฉพาะผู้สูงอายุตามมาตรา 4(2) คือจะต้องเป็นลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดที่จ้างอยู่ก่อนแล้ว หรือที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมจัดหาแรงงานกระทรวงแรงงานรวมทั้งความไม่เหมาะสมของค่าจ้างตามมาตรา 3 วรรคท้ายเป็นต้น

Article Details

How to Cite
วิทยอนันต์ บ. ., กำประเสริฐ ก. ., ทานาราช อ. ., พิมพ์สุรโสภณ พ. ., & ศรีทองกูล โ. (2025). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการทางภาษี : กรณีศึกษาการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการ จ้างแรงงานผู้สูงอายุของสถานประกอบการ. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 11(1), 22–31. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/273935
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (2555) สรุปรายงานการประชุมสมัชชาโลก ว่าด้วยเรื่องผู้สูงอายุครั้งที่ 2 แผนปฏิบัติการนานาชาติเกี่ยวกับผู้สูงอายุแมคริก 2002.(Madrid International Plan of Action on Ageing 2002 – MIPAA). กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA)

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 – 2564).กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์เทพวาณิชย์

ฉัฐพร โยเหลา (พฤษภาคม – มิถุนายน 2562). วารสารอุตสาหกรรมสารเพื่อสังคมผู้สูงอายุและโอกาศทางธุรกิจในประเทศไทย

ฉัตรสุมล พฤติภิญโญ.(พฤษภาคม – สิงหาคม 2558). วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข.ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 น : 149-1

เฉลิมพล แจ่มจันทร์, สุภรต์ จรัสสิทธิ์.(2564) สถานการณ์และแนวโน้มสภาพการทำงานของผู้สูงอายุไทย: การวิเคราะห์จากข้อมูลการสำรวจระดับประเทศ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประภัสสร แสวงสุขสันต์ และอาจารีย์ ปิ่นทอง. (2560). สังคมไทยวัยชรากับนโยบายการจ้างงาน

พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 639) พ.ศ. 2560

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

เวชย์ นุชเจริญ(เมษายน 2561).ปัญหาทางด้านการเงินของผู้สูงอายุ สืบค้นจาก http//www. Bangkokbi2news.com

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (พฤษภาคม 2561). เรื่องสังคมผู้สูงอายุกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย.วารสาร วิชาการทางอิเล็กทรอนิกส์. http//www.parliament.go.th

BLT Bangkok. (20 กุมภาพันธ์ 2561). จ้างผู้สูงอายุ สร้างงาน สร้างอาชีพ. สืบค้นจาก http//www.bltbamgkok.com