ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตระหนักรู้คุณค่าของอำนาจละมุนเรื่องศิลปะการต่อสู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์และสร้างสมการพยากรณ์ความตระหนักรู้คุณค่าของ
อำนาจละมุนเรื่องศิลปะการต่อสู้ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ปีการศึกษา 2567 จำนวน 850 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ วิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ทุกปัจจัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์กับความตระหนักรู้คุณค่าของ
อำนาจละมุนเรื่องศิลปะการต่อสู้ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตระหนักรู้คุณค่าของอำนาจละมุนเรื่องศิลปะการต่อสู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มี 5 ปัจจัย โดยเรียงลำดับจากปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านประสบการณ์เกี่ยวกับอำนาจละมุน (β=0.26) ด้านการจัดเรียนการสอนเกี่ยวกับอำนาจละมุน (β=0.23) ด้านนโยบายของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับอำนาจละมุน (β=0.22) ด้านการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับอำนาจละมุน (β=0.19) ด้านกิจกรรมพัฒนานักศึกษาเกี่ยวกับอำนาจละมุน (β=0.11) ซึ่งสามารถร่วมกันทำนายความตระหนักรู้คุณค่าของอำนาจละมุนเรื่องศิลปะการต่อสู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติได้ร้อยละ 75.60
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
ชิษณุพงศ์ ด้วงสุข และปริลักษณ์ กลิ่นช้าง. (2563). อํานาจละมุน (Soft Power) ที่สะท้อนในภาพยนตร์เยอรมัน Good Bye, Lenin!: การใช้มุมมองทางรัฐศาสตร์วิเคราะห์ภาษาและสัญลักษณ์ในภาพยนตร์. วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 9(2), 52-74.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น
สุภาพิชญ์ ถิระวัฒน์. (2565). Soft Power (อำนาจละมุน). สืบค้นจาก https://library.parliament.go.th/th/radioscript/rr2565-may7
สุเมฆ จีรชัยสิริ. (2562). มวยไทย: มรดกทางวัฒนธรรมของคนไทยและกีฬาแห่งประชาคมโลก. สืบค้นจาก https://library.parliament.go.th/th/radioscript/mwyithymrdkthangwathnthrrmkhxngkhnithyaelakiilaaehngprachakhmolk
อุรุพร ศิริวิชยาภรณ์ สันติ ศรีสวนแตง และประสงค์ ตันพิชัย. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความตระหนักทางวัฒนธรรมของนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(1), 1207-1221.
เอกรงค์ ปันพงษ์. (2566). พลังการสื่อสารผ่านแนวคิดอํานาจละมุน (Soft power) ของประเทศญี่่ปุ่นในหนังส่ือการ์ตูนยอดตีพิมพ์อันดับ 1 ของโลก “วันพืช”. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 27(2), 51-64
Chadwick, S., Widdop, P., & Burton, N. (2022). Soft power sports sponsorship–A social network analysis of a new sponsorship form. Journal of Political Marketing, 21(2), 196-217.
Cronbach, L. J. & Furby, L. (1970). How we should measure" change": Or should we?. Psychological bulletin, 74(1), 68.
Duval, T. S., Silvia, P. J., & Lalwani, N. (2012). Self-awareness & causal attribution: A dual systems theory. Springer Science & Business Media.
Hair, Jr., J. F., Black, W.C., Babin, B. J., Anderson, R. E. & Black, R. L., W.C. (2019). Multivariate Data Analysis (8th ed.). Upper Saddle River. NJ: Pearson Prentice Hall.
Henne, P. S., & Ozturk, A. E. (2022). The practice of soft power. Religions, 13(9), 805.
Horne, L. (2021). The “Soft Power” of In-Class Reflection: A Transformative Experience. Journal of Higher Education Theory and Practice, 21(3), 69-79.
ikert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of psychology, 22(140), 5-55.
Kroenig, M., McAdam, M., & Weber, S. (2010). Taking soft power seriously. Comparative Strategy, 29(5), 412-431.
Krzyzaniak, J. S. (2018). The soft power strategy of soccer sponsorships. Soccer & Society, 19(4), 498-515.
Lee, G. (2009). A theory of soft power and Korea's soft power strategy. The Korean Journal of Defense Analysis, 21(2), 205-218.
Lin, L., & Hongtao, L. (2017). Joseph Nye’s soft power theory and its revelation towards ideological and political education. Humanities and Social Sciences, 5(2), 69-74.
Mavrodieva, A. V., Rachman, O. K., Harahap, V. B., & Shaw, R. (2019). Role of social media as a soft power tool in raising public awareness and engagement in addressing climate change. Climate, 7(10), 122. https://doi.org/10.3390/cli7100122
Nye Jr, J. S. (2002). The information revolution and American soft power. Asia Pacific Review, 9(1), 60-76. Routledge.
Rovinelli, R. J. and Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 1(2), 49-60.
Schumacker, E., & Lomax, G. (2016). A Beginner's Guide to Structural Equation Modeling (4th ed). New York:
Sergunin, A., & Karabeshkin, L. (2015). Understanding Russia's soft power strategy. Politics, 35(3-4), 347-363.
Yeo, S., Lee, H., & Eschbach, A. (2024). Measuring soft power via positive spontaneous actions of foreign publics: The harder power of voluntary experience, voluntary megaphoning, and general interest. Place Branding and Public Diplomacy, 20(2), 130-141.