การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตเทศบาลตำบลหลักห้า จังหวัดสมุทรสาคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลบริบทของพื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลหลักห้า อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในเขตเทศบาลตำบลหลักห้า อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร 3) เพื่อพัฒนาเส้นทางและโปรแกรมการท่องเที่ยวในเขตเทศบาลตำบลหลักห้า อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบไม่เฉพาะเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม จำนวน 38 คน และการสนทนากลุ่ม จำนวน 20 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและเชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า
- 1. บริบทของพื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลหลักห้า อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ดังนี้ เชิงศาสนา ได้แก่ วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสรและเม่งซวงเซี่ยงตั๊ว เชิงเกษตร ได้แก่
สวนไพศาล บ้านสวนแช่มชื่นและสวนผลไม้นายตั้ม และเชิงวัฒนธรรม ได้แก่ ไทยทรงดำและชุมชนเก่าริมน้ำหลักห้าโดยมีองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวทั้งสิ่งดึงดูดใจ กิจกรรมการท่องเที่ยว การเข้าถึง สิ่งอำนวยความสะดวกและที่พักอาศัย การมีส่วนร่วมของชุมชน ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและเป็นส่วนหนึ่งด้านการท่องเที่ยว มีความสามัคคี มีความพร้อมพัฒนาด้านต่าง ๆ เป็นอย่างดี - 2. แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในเขตเทศบาลตำบลหลักห้า อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ปัจจัยที่ทำให้เกิดการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว ประกอบไปด้วย ปัจจัยผลัก (Push Factors) โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅=4.82, S.D.=0.37) ประสบการณ์ที่แปลกใหม่ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅=4.91, D.=0.29) รองลงมา ได้แก่ การแสวงหาความรู้/สิ่งใหม่ ๆ ให้แก่ตนเอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅=4.89, S.D.=0.31) ปัจจัยดึงดูด (Pull Factors) โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅=4.73, S.D.=0.42) การเข้าถึงมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅= 4.86, S.D.=0.34) รองลงมาได้แก่ สิ่งอำนวยความสะดวกมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅=4.79, S.D.=0.38) 3) การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวควรเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวในรูปแบบผสมผสาน เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับรูปแบบการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งศาสนา การเกษตรและวัฒนธรรม สามารถแบ่งได้ดังนี้ เส้นทาง 1 วัน ได้แก่ เส้นทางที่ 1 ไทยทรงดำ สวนไพศาล วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร เส้นทางที่ 2 วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสรสวนผลไม้นายตั้ม เม่งซวงเซี่ยงตั๊ว ชุมชนเก่าริมน้ำหลักห้า เส้นทางที่ 3 วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร บ้านสวนแช่มชื่น เม่งซวงเซี่ยงตั๊ว ชุมชนเก่าริมน้ำหลักห้า เส้นทาง 2 วัน 1 คืน ได้แก่ เส้นทางที่ 4 วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร เม่งซวงเซี่ยงตั๊ว ชุมชนเก่าริมน้ำหลักห้า บ้านสวนแช่มชื่น สวนผลไม้นายตั้ม เส้นทางที่ 5 ไทยทรงดำ สวนไพศาล วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร เม่งซวงเซี่ยงตั๊ว ชุมชนเก่าริมน้ำหลักห้า บ้านสวนแช่มชื่น สวนผลไม้นายตั้ม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
กนกกานต์ แก้วนุช. (2564). การจัดการการท่องเที่ยวและพัฒนาชุมชนการท่องเที่ยวภายใต้พลวัตโลก. กรุงเทพ: ฟรีมายด์.
กมลชนก จันทร์เกตุ. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : ชุมชนเกาะยอ จังหวัดสงขลา. รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต. คณะรัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กรกนก เกิดสังข์. (2560). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเชิงกลยุทธ์ กรณีศึกษาตำบลบางไม้ อำเมือง จังหวัด สุราษฎร์ธานี. บริหารธุรกิจบันฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
กรมการท่องเที่ยว. (2565). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ (พ.ศ. 2566-2569). สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2567. จาก http://www.tourism.go.th.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2566). รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทย ปี 2566. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แบรนด์ เมทริกซ์ รีเสิร์ช.
คำนวล ชูมณี และภัทรวรรณ แท่นทอง. (2554). โมเดลแสดงอิทธิพลคุณภาพบริการของโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต กระบี่ และพังงาต่อความจงรักภักดีของนักท่องเที่ยว. วารสารเวอร์ริเดียนมหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(3), 2069-2091.
ตรียากานต์ พรมคำ. (2565). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนภายใต้แนวคิดการจัดการแบบร่วมมือกัน กรณีศึกษา อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้าและชุมชนบ้านร่องกล้า อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. คณะสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เทศบาลตำบลหลักห้า. (2567). ข้อมูลพื้นฐานเทศบาลตำบลหลักห้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 จาก https://lakha-munic.go.th/public.
ธรรญชนก เพชรานนท์. (2559). แรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวยังแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตพื้นที่การค้าชายแดนจังหวัดเชียงราย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(94) , 42-59.
นิมิต ซุ้นสั้น และคณะ. (2564). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวสำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนทุ่งมะพร้าว จังหวัดพังงา. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, (4)2, 326-340.
ประพนธ์ เล็กสุมา และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2565). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบเพื่อรองรับ นักท่องเที่ยวกลุ่มองค์กรในภูมิภาคตะวันตก. วารสารศิลปะการจัดการ, 6(4), 2082-2106.
ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, (29)2, 31-48.
ประเสริฐ โยธิคาร์. (2564). การประยุกต์ใช้มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนอาเซียนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเมืองมะดัน ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(2), 32-49.
พจนา บุญคุ้ม และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการสื่อสารทางการตลาดในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง. วารสารเวอร์ริเดียนมหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 2793-2808.
พัชราภรณ์ จันทรฆาฎ และคณะ. (2565). การยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่นของตำบลบ้านงิ้ว อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(2), 19-28.
ภคมน หงษ์คู. (2565). พฤติกรรมการท่องเที่ยวและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ภัทรสินี ภัทรโกศล. (2565). สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์.
ภาณุวัฒน์ ไข่มุก. (2565). การจัดเส้นทางสำหรับโปรแกรมการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงรายโดยการประยุกต์ใช้วิธีปัญหาการเดินทางของพนักงานขาย. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
วงศ์ระวิทย์ น้อมนำทรัพย์. (2565). การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานภูมิปัญญาช่างศิลป์ จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 4(3), 443-456.
ศักดิ์สง่า นภมินทร์. (2565). การพัฒนาศักยภาพเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวย่านตลาดอาหารกลางคืนในเขตคูเมืองเก่า จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ .
ศิวพร มีนาภา. (2561). ปัจจัยแรงจูงใจในการท่องเที่ยวและปัจจัยองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต. คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สาลินี ทิพย์เพ็ง. (2565). การวิจัยและพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยววิถีโหนดนาเล พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาด้วยเทคโนโลยี AR สู่การยกระดับเศรษฐกิจชุมชน. กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม.
สำนักงานจังหวัดสมุทรสาคร. (2565). แผนพัฒนาจังหวัด 5 ปี (พ.ศ.2566 - 2570) ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. กลุ่มยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัดสมุทรสาคร.
สิรินภา จงเกษกรณ์ และกนกกานต์ แก้วนุช. (2564). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกลุ่มเจเนอเรชั่นวายในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาย่านเมืองเก่าภูเก็ต. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 17(2), 19-40.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร. (2565). แหล่งท่องเที่ยวสมุทรสาคร. วารสารมนต์เสน่ห์การท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสาคร, 1(2), 21-51.
อนุวัฒน์ ชมภูปัญญา และธนัสถา โรจนตระกูล. (2565). การพัฒนาศักยภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วมสู่ชุมชนท่องเที่ยวที่ยั่งยืน. วารสารศูนย์พัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่, 7(8), 414-430.
อัญชลี ศรีเกตุ. (2565). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่วิถีที่ยั่งยืน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 270-279.
Rensis Likert. (1961). New Pattern of Management. New York: McGraw Hill.
Sharron Dickman. (1996). Tourism: An introductory text (2nd Ed.). Sydney: Hodder Education.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (2nd Ed.). New York: Harper and Row.