การบริหารจัดการคุณภาพระบบสารสนเทศที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการชำระภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาของตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสุขภาพและความงามในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อุดม สมบูรณ์ผล
กฤษฎา ตันเปาว์
จินตาภา บัวอุไร
ฐานิสรา เพ็ชรรื่น
พีร์ เพ็ชรรื่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารจัดการคุณภาพระบบสารสนเทศ และการยอมรับเทคโนโลยีการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และ 2) ศึกษาการบริหารจัดการคุณภาพระบบสารสนเทศที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสุขภาพและความงามในกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและความงาม จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารจัดการคุณภาพระบบสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และระดับการยอมรับเทคโนโลยีการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) การบริหารจัดการคุณภาพระบบสารสนเทศที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสุขภาพและความงามในกรุงเทพมหานคร คือ ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้งาน (β = .36, p < 0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และให้ค่า R2 = 0.61 โดยด้านอื่นไม่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

Article Details

How to Cite
สมบูรณ์ผล อ., ตันเปาว์ ก. ., บัวอุไร จ. ., เพ็ชรรื่น ฐ. ., & เพ็ชรรื่น พ. . (2025). การบริหารจัดการคุณภาพระบบสารสนเทศที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการชำระภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาของตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสุขภาพและความงามในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 11(1), 52–59. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/275503
บท
บทความวิจัย

References

กรมสรรพากร. (2565). คู่มือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2566. จาก http://download.rd.go.th/fileadmin/download/insight_pasi/personalincome_61.pdf

จุไรรัตน์ ครุธคา. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้เครื่องมือการบริหารจัดเก็บภาษีอากร ในรูปแบบการยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์ (E-FILING) ของกลุ่มภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. สารนิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์. (2561). ปัญหายุทธศาสตร์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารภาครัฐ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(1), 91-102.

ประสิทธิ์ เผด็จพาล. (2563). ปัจจัยและการยอมรับในเทคโนโลยีในระบบของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต. สารนิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วรพรรณ นุตโร. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางอินเทอร์เน็ตในเขตสานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร. (2563). รายงานการประชุมการบริหารการจัดเก็บภาษีของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประจำป 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร.

อภิสรา คงแก้ว. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้งานระบบ REVENUE DEPARTMENT E-FILING FACTORS AFFECTING THE ACCEPTANCE OF REVENUE DEPARTMENT E-LILING SYSTEM. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS quarterly, 319-340.

Koontz, H. D. (1937). The Depreciation Base in Railroad Accounting. J. Land & Pub. Util. Econ., 13, 1.

Rogers, E. M., & Shoemaker, F. F. (1971). Communication of Innovations; A Cross-Cultural Approach. New York: The Free Press.

Tam, C., & Oliveira, T. (2016). Performance impact of mobile banking: using the task-technology fit (TTF) approach. [Online] Retrieved from http://www.emeraldinsight.com.

Venkatesh, V., Morris, M. G., Davis, G. B., & Davis, F. D. (2003). User acceptance of information technology: Toward a unified view. MIS Quarterly, 27(3), 425–478.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York : Harper. and. Row.