มาตรการควบคุมเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยการเจริญพันธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิวัฒนาการ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์โดยวิธีการตั้งครรภ์แทน 2) ศึกษากฎหมายของประเทศไทย ประเทศแคนาดาและเครือรัฐออสเตรเลีย (รัฐควีนส์แลนด์) 3) วิเคราะห์ปัญหามาตรการทางกฎหมาย และ 4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้มีประสิทธิภาพการวิจัยนี้ป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจาก ตัวบทกฎหมาย หนังสือ บทความ เอกสารทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์และข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเพื่อดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้มีประสิทธิภาพต่อไป
ผลการวิจัยพบว่า
1. การใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันทางการแพทย์โดยวิธีการตั้งครรภ์แทนมีวิวัฒนาการจากการบำบัดรักษาการมีบุตรยาก ในอดีตใช้วิธีการผสมเทียมต่อมาพัฒนามาเป็นวิธีการตั้งครรภ์แทน ปรากฏแนวคิดจากความต้องการสืบทอดดำรงเผ่าพันธุ์ชีวิตมนุษย์ แก้ไขปัญหาการไม่สามารถมีบุตรได้หรือมีบุตรยาก โดยรัฐบัญญัติกฎหมายเพื่อควบคุมการตั้งครรภ์แทนมิให้ถูกนำไปใช้ในทาง
มิชอบโดยนำทฤษฎีความรับผิดทางอาญาและทฤษฎีการลงโทษทางอาญามาใช้บัญญัติกฎหมายที่มีโทษทางอาญา
2. ประเทศไทยกำหนดมาตรการทางกฎหมายควบคุมมิให้ดำเนินการตั้งครรภ์แทนเพื่อประโยชน์ทางการค้าและมิให้
นำเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ไปใช้ในทางมิชอบ ปรากฏในพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 ส่วนประเทศแคนาดากำหนดมาตรการทางกฎหมายควบคุมมิให้ดำเนินตั้งครรภ์แทนซึ่งมีผลประโยชน์ตอบแทนและมิให้นำเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ของมนุษย์ไปใช้ในทางมิชอบ ปรากฏในพระราชบัญญัติช่วยการเจริญพันธุ์ของมนุษย์ ค.ศ.2004 ส่วนในเครือรัฐออสเตรเลีย (รัฐควีนส์แลนด์) กำหนดมาตรการทางกฎหมายควบคุมมิให้ดำเนินการดำเนินการตั้งครรภ์แทนเชิงพาณิชย์ กำหนดให้การคุ้มครองเด็กและผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตั้งครรภ์แทนอย่างครอบคลุม ปรากฏในพระราชบัญญัติการตั้งครรภ์แทน ค.ศ.2010
3. กฎหมายของประเทศแคนาดากำหนดบทลงโทษสูงกว่ากฎหมายไทยหลายมาตรการโดยกำหนดให้เป็นโทษทางอาญา
ทั้งโทษจำคุกและปรับแตกต่างจากกฎหมายไทยซึ่งเป็นเพียงโทษทางจริยธรรมอันส่งผลต่อประสิทธิภาพในการข่มขู่ยับยั้งการกระทำความผิด ในกฎหมายของเครือรัฐออสเตรเลีย (รัฐควีนส์แลนด์) กำหนดคำนิยาม การตั้งครรภ์แทนเชิงพาณิชย์อย่างชัดเจน กำหนดขอบเขตความรับผิดของแพทย์ กำหนดการคุ้มครองวัตถุหรือข้อมูลของผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะเจาะจงและการคุ้มครองเด็กครอบคลุมหลังจากเด็กเกิด แตกต่างจากกฎหมายไทยที่ไม่มีกำหนดคำนิยามขอบเขตความรับผิดที่ชัดเจนและการคุ้มครองที่ครอบคลุมเพียงพอ
4. จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 โดยแก้ไขเพิ่มเติมคำนิยามและขอบเขตความรับผิดให้ชัดเจน กำหนดบทลงโทษที่มีประสิทธิภาพ และกำหนดมาตรการในการคุ้มครองผู้เกี่ยวข้องอย่างครอบคลุม เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา. คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 4071/2566. ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา. 10 พฤศจิกายน 2567. สืบค้นจาก http://deka.supremecourt.or.th/printing/deka.
ณรงค์ ใจหาญ. (2543). กฎหมายอาญาว่าด้วยโทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย. (พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. (2566). ทฤษฎีความรับผิดทางอาญา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 1 ตุลาคม 2566. สืบค้นจาก https://www.stou.ac.th/Schools/Slw/upload/41716_2.pdf.
ประกาศแพทยสภา ที่ 95 (3)/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสำหรับ การตรวจและประเมินความพร้อมทางด้านร่างกาย จิตใจ และสภาพแวดล้อมของผู้ขอรับบริการ หญิงที่รับตั้งครรภ์แทน และผู้บริจาค อสุจิ หรือ ไข่ ที่จะนำมาใช้ดำเนินการให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ (2558, 4 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนพิเศษ 280 ง. หน้า 20.
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558. (2558, 1 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนที่ 38 ก. หน้า 1-12.
อมรินทร์ เทเลวิชั่น (2565). สธ. ร่วมมือ ดีเอสไอ กวาดล้างแก๊งอุ้มบุญยกระดับเป็นคดีพิเศษ เพื่อคุ้มครองเด็ก. 31 พฤษภาคม 2565. สืบค้นจาก https://www.amarintv.com/news/detail/136187
Government of Canada. (2020). “Assisted Human Reproductive Act S.C.2004,c.2”. September 30, 2020. Retrieved from: https://laws-lois.justice.gc.ca/eng/acts/a-13.4/
Queenlands Government. (2020). “Surrogacy Act 2010”. December 30, 2020. Retrieved from: https://www.legislation.qld.gov.au/view/whole/html/inforce/current/act-2010-002