ผลของการฝึกเซอร์กิตเทรนนิ่งที่มีต่อมวลกล้ามเนื้อและมวลไขมันในร่างกายของนักศึกษาชาย

Main Article Content

สิทธิพร พันธุ์พิริยะ
ชาญวิทย์ อินทรักษ์
ณัฐศิษฐ์ สุวรรณวัฒน์
พรีส รักษาสมัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกเซอร์กิตเทรนนิ่งที่มีต่อมวลกล้ามเนื้อและมวลไขมันในร่างกายของนักศึกษาชาย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอุดรธานี อายุ 18-22 ปี เพศชาย จำนวน 20 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงได้รับการฝึกเซอร์กิตเทรนนิ่งจำนวน 20 คนและการทดลองครั้งนี้ฝึกทั้ 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 ครั้ง ๆ ละ 60 นาที เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย โปรแกรมการฝึกโดยใช้น้ำหนักตัวรูปแบบเซอร์กิตเทรนนิ่ง (Ji-Woon Kim, Yeong-Chan Ko, Tae-BeomSeo & Young-Pyo Kim, 2018) และ
เครื่องวิเคราะห์สัดส่วนของร่างกาย รุ่น Jawon Medical Plus X-scan (รุ่น UHM-101)  ใช้สถิติทดสอบ Paired sample t-test


ผลการวิจัยพบว่า


ค่าเฉลี่ยของมวลกล้ามเนื้อและมวลไขมันภายในกลุ่มทดลองก่อนการฝึกและหลังการฝึกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าการได้รับการฝึกเซอร์กิตเทรนนิ่งเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ส่งผลให้มีมวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นและมวลไขมันในร่างกายลดลง

Article Details

How to Cite
พันธุ์พิริยะ ส. ., อินทรักษ์ ช. ., สุวรรณวัฒน์ ณ. ., & รักษาสมัย พ. . (2025). ผลของการฝึกเซอร์กิตเทรนนิ่งที่มีต่อมวลกล้ามเนื้อและมวลไขมันในร่างกายของนักศึกษาชาย. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 11(1), 71–76. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/275823
บท
บทความวิจัย

References

เจริญ กระบวนรัตน์. (2544). การฝึกกล้ามเนื้อโดยการยกน้ำหนัก. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Hoeger, W. K. (1989). Lifetime physical fitness & wellness. (2nd ed., p. 3). Morton.

Ji-Woon Kim, Yeong-Chan Ko, Tae-Beom Seo, & Young-Pyo Kim. (2018). Effect of circuit training on body composition, physical fitness, and metabolic syndrome risk factors in obese female college students. Journal of Exercise Rehabilitation, 14(3), 460-465.

Kelley, A., Kelley, K. S., & Stauffer, B. L. (2023). Effects of resistance training on body weight and body composition in older adults: An inter-individual response difference meta-analysis of randomized controlled trials. Science Progress, 106(2), 1–19.

Kim, J. W., Ko, Y. C., Seo, T. B., & Kim, Y. P. (2018). Effect of circuit training on body composition, physical fitness, and metabolic syndrome risk. Journal of Exercise Rehabilitation, 14(3), 460-465. https://doi.org/10.12965/jer.1836248.

Paluch, A. E., Boyer, W. R., Franklin, B. A., Laddu, D., Lobelo, F., Lee, D., McDermott, M. M., Swift, D. L., Webel, A. R., & Lane, A. (2024). Resistance exercise training in individuals with and without cardiovascular disease: 2023 update: A scientific statement from the American Heart Association. Circulation, https://www.ahajournals.org/doi/10.1161/CIR.0000000000001189.