การพัฒนาความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ตำบลโคกตะเคียน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ตำบลโคกตะเคียนอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ใช้รูปแบบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมสนทนากลุ่ม กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 20 ราย โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ตำบลโคกตะเคียน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยกระบวนการมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และจัดเวทีการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลโคกตะเคียนมีการดำเนินงานกลุ่ม แบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการกลุ่ม 2) ด้านการผลิต 3) ด้านการตลาด 4) ด้านการมีส่วนร่วม 5) ด้านการเงิน และ 6) ด้านผู้นำ โดยมีปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับกลยุทธ์บริหารจัดการไม่ชัดเจนทั้งการผลิต การจำหน่าย และการจัดทำบัญชี ทั้งนี้ศักยภาพการผลิตยังไม่ได้มาตรฐาน ขาดข้อมูลการวางแผนการดำเนินงาน ซึ่งจากปัญหาอุปสรรคดังกล่าวมีแนวทางในการพัฒนาเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งของกลุ่มคือ 1) การพัฒนาร่วมกับกลุ่มภายใน โดยการพัฒนาผู้นำและสมาชิกให้มีความรู้ความสามารถ และ 2) การพัฒนาร่วมกับกลุ่มภายนอก โดยการสร้างเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ทั้งด้านการผลิต การตลาดและการบริหารจัดการ ไปสู่การสร้างกลยุทธ์เพื่อพัฒนากลุ่มให้เกิดความเข้มแข็งโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของสินค้าและมีมาตรฐาน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
กรมการพัฒนาชุมชน. (2560). แผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : กองแผนงาน กรมพัฒนาชมุชน กระทรวงมหาดไทย.
กษมาพร พวงประยงค์ และนพพร จันทร์นำชู. (2556). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มการแปรรูปและผลิตภัณฑ์ จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5, 108-120.
ณัฐพล บัวเปลี่ยนสี ปรีดาพร อารักษ์สมบูรณ์ และนิชชิชญา นราฐปนนท์. (2560). การพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, 1(1), 43-50.
ณัฐภาณี บัวดี และอดิเรก ฟั่นเขียว. (2562). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วย ในอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก. วารสารศรีวนาลัยวิจัย, 9, 15-24.
ทวีศักดิ์ นพเกสร. (2548). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : ชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย.
ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร และ อุทิศ สังขรัตน์. (2556). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา. รายงานวิจัย. ภาควิชาสารรัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ธนัญฐ์ชนกฬ์ ไทยเจริญ. (2566). การพัฒนาความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดฉะเชิงเทราให้ยั่งยืน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10, 276-292.
อนุวัฒน์ คงสว่าง. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารของจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อัจฉรา ใสบาล และ นิวัฒน์ มาศวรรณา. (2557). การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษาโรงสีชุมชนครบวงจรตำบลไก่คำ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ. แก่นเกษตร, 42 (พิเศษ), 548-554.