การเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้วิชาทักษะและเทคนิคการสอนของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต โดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนกับแบบปกติ

ผู้แต่ง

  • ปราโมทย์ จันทร์เรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาทักษะและเทคนิคการสอนของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต โดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนกับแบบปกติ 2) เปรียบเทียบทักษะและเทคนิคการสอนของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต โดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน กับแบบปกติ 3) เปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนวิชาทักษะและเทคนิคการสอนของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตโดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนกับแบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย จำนวน 40 คน และสาขาวิชาสังคมศึกษา จำนวน 41 คน รวม 81 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีความเชื่อมั่น 0.850 4) แบบประเมินทักษะและเทคนิคการสอน และ 5) แบบวัดเจตคติต่อการเรียน มีค่าความเชื่อมั่น 0.753 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาทักษะและเทคนิคการสอนของนักศึกษา โดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนสูงกว่าแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทักษะและเทคนิคการสอนของนักศึกษาโดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนสูงกว่าแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเจตคติต่อการเรียนวิชาทักษะและเทคนิคการสอนของนักศึกษา โดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนสูงกว่าแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

จินดา อยู่เป็นสุข. (2545). การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน. กรุงเทพฯ : ดับบลิว เจ. พร็อพเพอตี้.
ฉลอง ไตรแสง. (2552). การเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้วิชาเขียนแบบ เรื่อง การเขียนภาพไอโซเมตริกและภาพออบลิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ทัศนี สนธิ. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติต่อการเรียน และความคงทนในการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนกับการสอนตามคู่มือของ สสวท. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ เทพสตรี.
นงเยาว์ ศรีประดู่. (2546). การพัฒนาแผนการเรียนรู้และแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนกาพย์ยานี 11 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปราโมทย์ จันทร์เรือง. (2552). การออกแบบหลักสูตรและการเยนกาสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะสำคัญด้านการคิดและการเรียนรู้. ลพบุรี : ท.การพิมพ์.
พัชรี มั่นใจจริง. (2549). การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่องการปฏิบัติขลุ่ยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมชาย ม่วงลอง. (2547). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยวิธีการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนกับวิธีสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
สุคนธ์ สินธพานนท์ และคนอื่นๆ. (2545). กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักสูตรการศึกษาขั้น พื้นฐาน. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
สุรพล พะยอมแย้ม. (2541). จิตวิทยาพื้นฐานสำหรับการศึกษา. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุรพล เสียงเพราะ. (2548). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนวิชาคณิตศาสตร์
บทที่ 13 เรื่องบทประยุกต์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อารยันต์ แสงนิกุล. (2546). การพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องขุนช้างขุนแผน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Candler, A. C., et al. (1981). Peer tutoring as strategy individualizing instruction. Education. 101 (Summer), 380-383. Davidson, Neil. (1974). The Relationship between questions and pupils responses during a directed reading activity. Dissertation Abstracts International, 12, 6273-A.
Keller, Fred S. (1968). Good-bye teacher. Journal of Applied Behavior Analysis. 1(12), 79-89.
Oley, Nancy. (1992. April). Extra Credit and Peer Tutoring. Impact on the Quality of Writing in an Open Admission College Teaching of Psychology. 19(2) : 78-81.
Sivasailam, Thiagarjan. (1973, December). Mada's system revised, A new structure for education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-01

How to Cite

Share |