การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4

ผู้แต่ง

  • นุสรา สิงห์พยัคเดช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของ
ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 และเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ตามการรับรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ประสบการณ์ทำงานและขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความสอดคล้องอยู่ระดับ 0.60-1.00 และค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ใช้สถิติทดสอบค่าทีและค่าเอฟ เปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่

ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ตามการรับรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ประสบการณ์ทำงาน และขนาดของโรงเรียน
2.1 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ตามการรับรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน
2.2 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ตามการรับรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำแนกตามประสบการณ์ทำงานต่างกัน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน
2.3 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ตามการรับรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำแนกตามขนาดของโรงเรียนแตกต่างกัน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กรองทิพย์ นาควิเชตร. (2552). ภาวะผู้นำสร้างสรรค์เพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : ธีรสาส์น พับลิชเชอร์ จำกัด.
คนึง วีระชัย. (2552). การศึกษาการใช้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
ชมจันทร์ อุ่นน้ำใจ. (2552). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่สระบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : แอล ที เพลส จำกัด.
ศรีอุไร เจริญผล. (2552). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
ศรุดา ชัยสุวรรณ. (2552). ผู้นำการศึกษากับการพัฒนาตนการพัฒนาคนการพัฒนางาน. กรุงเทพฯ : ทริปเปิ้ล เอ ก๊อปปี้.
สืบสาย บุญวีรบุตร. (2556). “การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีมากกว่าภาษาอังกฤษ.” วารสารราชพฤกษ์. 12 (3) : 6-12.
สุทธาอร แผนบ้านสร้าง. (2552). การศึกษาพฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2548). ภาวะผู้นำ : ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บุคส์ลิงค์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-01

How to Cite

Share |