ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสถานศึกษาของผู้บริหารและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี

ผู้แต่ง

  • พัชรี จันทง
  • เฉลิมชัย หาญกล้า
  • ธัชวรรณ หงษ์นาค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี 2) ศึกษาวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งของผู้บริหารและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี ปีการศึกษา 2558 จำนวน 347 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.961 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ 1) ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา 2) ด้านการสร้างแรงดลใจ 3) ด้านการมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์ และ 4) ด้านการมุ่งความสัมพันธ์เป็นรายคน 2) วิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ (1) แบบชนะ-ชนะ (2) แบบแพ้-ชนะ และ (3) แบบแพ้-แพ้ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีความสัมพันธ์ในระดับมากที่สุด

References

จิตฑามาศ เชื้อโฮม. (2553). วิธีการจัดการความขัดแย้งของผุ้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จิตนภา ไชยเทพา. (2552). การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
ชัยวัฒน์ มั่นอก. (2552). พฤติกรรมผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพของผู้อำนวยการสถานศึกษาที่เป็นจริงและพึงประสงค์ตามทัศนะของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท สิงห์บุรี และอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ณัทลาวัลย์ สารสุข. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ไผท แถบเงิน. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2550). ราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 124 ตอนที่ 47 ก. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
วิภาวี เจียมบุศย์. (2554). สาเหตุของความขัดแย้งและวิธีการจัดการความขัดแย้งตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
วิโรจน์ สารรัตนะ.(2548). ผู้บริหารโรงเรียนสามมิติการพัฒนาวิชาชีพสู่ความเป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิผล. กรุงเทพ : ทิพย์วิสุทธิ์.
สราวุฒิ บุญยืน. (2550). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในฝัน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สุพัตรา หมั่นนอก (2555). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
เสน่ห์ โสมนัส. (2538). การศึกษาสาเหตุของความขัดแย้งและวิธีจัดการกับความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2540). ความขัดแย้งการบริหารเพื่อความสร้างสรรค์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ แกรมมี่.
สุมาลี ละม่อม. (2553). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุบลราชธานี.
สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. (2553). วิทยาการจัดการ. ลพบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
อนิรุท ดวงสอดศรี. (2547). เปิดโลกการศึกษาสไตล์ ทักษิณ ชินวัตร. กรุงเทพฯ : ไอ เอ็ดดูเคชั่น.
อารี กังสานุกูล. (2553). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
Bass, B.M. (1999). Manual for the multifactor leadership questionnaire. California: Consulting Psychologists.
Bass, B.M. & Avolio, B.J. (1990a). “The implication of Transactional and Transformational Leadership for Individual, change development. P 231-272.
Filley, Alan C. (1975). Interpersonal conflict resolution. Glenview, ill: scoot, foreman.
Windel, R.E. (1991). Elementary principal leadership style. Some Factors Related to Job Satisfaction of Teachers in Random Selected Montana Elementary School Ed.D. (ABSTRACT). Montana State University.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-01

How to Cite

Share |