ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยกลุ่มช่วยเรียนรายบุคคลในวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • อรรถพร บุราคร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยกลุ่มช่วยเรียนรายบุคคล 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยกลุ่มช่วยเรียนรายบุคคลในวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับเกณฑ์ร้อยละ 60 3) เพื่อศึกษาทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยกลุ่มช่วยเรียนรายบุคคล และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยกลุ่มช่วยเรียนรายบุคคลในวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มทดลองที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองยางพิทยาคม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ที่กำลังศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 2 ห้องเรียนๆ ละ 39 คน รวม 78 คน ซึ่งจัดนักเรียนโดยคละความสามารถและจัดให้ครูคณิตศาสตร์กับผู้วิจัยสอนคนละกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มช่วยเรียนรายบุคคล เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จำนวน 4 แผน และเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลมี 3 ชนิด ได้แก่ 1) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว  2) แบบประเมินทักษะการทำงานร่วมกัน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test)                ผลการวิจัยพบว่า  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยกลุ่มช่วยเรียนรายบุคคลในวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียน  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยกลุ่มช่วยเรียนรายบุคคลในวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 และภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ทั้ง 2 กลุ่มทดลอง 3. ทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยกลุ่มช่วยเรียนรายบุคลอยู่ในระดับมาก 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยกลุ่มช่วยเรียนรายบุคคล วิชาคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2538). บรรณิทัศน์งานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : การศาสนา.
_______ . (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ.
คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สํานักงาน. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ : สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.
จินตนา ขิขุนทด. (2546). การสร้างชุดการเรียนแบบกลุ่มช่วยเรียนรายบุคคลในวิชาบัญชีฟาร์ม สำหรับนักเรียน ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.
ดวงเดือน อ่อนน่วม. (2537). การพัฒนาทักษะการคิดคำนวณของนักเรียนระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นาตยา ปิลันธนานนท์. (2537). “หน่วยที่ 11 การพัฒนาการเรียนการสอนสังคมศึกษา (1)” ใน ประมวลสาระชุดวิชาสารัตถะและวิทยวิธีทางวิชาสังคมศึกษา หน้า 118-233. นนทบุรี สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นิคม ทาแดง และคณะ. (2540). “หน่วยที่ 3 การวางแผนการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูล” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการวิจัยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. หน้า 227-232. นนทบุรี : สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ไพศาล หวังพานิช. (2530). วิธีการวิจัย. กรุงเทพฯ : งานส่งเสริมวิจัยและตำรา กองบริการศึกษา สำนักงาน อธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภนิดา ชัยปัญญา. (2541). การวัดความพึงพอใจ. หน้า 11-14 : ประเทศไทย : สำนักพิมพ์แสงอักษร.
ยุพิน พิพิธกุล. (2530). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บพิธการพิมพ์.
_________. (2530). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : ภาควิชามัธยมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_______. (2536). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.
_______. (2545). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : เอส พี เอ็นการพิมพ์ จำกัด.
วันทนีย์ บุญสุวรรณ์. (2540). ผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนแบบกลุ่มช่วยเรียนรายบุคคล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมพร โยวะบุตร. (2550). ผลการจัดการเรียนแบบร่วมมือแบบจิกซอว์และแผนที่ความคิด ในวิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ไสว ฟักขาว. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏจันทรเกษม.
เสาวภา ประพันธ์. (2545). การใช้ชุดการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ที่เรียนแบบกลุ่มช่วยเรียนรายบุคคล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อรพรรณ พรสีมา. (2540). เทคโนโลยีทางการสอน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางเขน.
อังคณา แก้วไชย. (2549). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการให้เหตุผลและเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวก การลบ การคูณ การหารเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TAI และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามคู่มือครู, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Best, John W. and Kahn, James V. (1986). Research in Education. 5th ed. New Jersey. Prentice-Hall. Capron, (1988) Computers Tools for an Information Age. 5th ed. the U.S.A.
Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw – Hill Book Company.
Holiday, C Dwight. (1995). The Effects of the Cooperative Learning Strategy Jigsaw 2 on Academic Achievement and Cross-Race Relationships in a secondary Social Studies classroom. [CD – ROM] Doctoral Dissertation, The University of Southern
Mississippi. (1995). ABSTRACT available: Proquest File: Dissertation Abstracts International. On disc 1994-1997.
Mattingly, Robert M; Vansickle, Ronald. (1991). Cooperative Learning and Achievement in Social Studies: Jigsaw 2. [CD – ROM] Social – Education. v55. n6 (October 1991) p 392-395. ABSTRACT available: Silverplatter File: ERIC.
Slavin, Robert E. (1987). Cooperative Learning Theory, Research, and Practice. Massachusetts: A Simon & Schuter Company.
Zetty, Nina. (1994). A comparison of the STAD and JIGSAW cooperative learning Methods.
West Virginia University, (1992).ABSTRACT available : Proquest File: Dissertation ABSTRACTs International. Ondisc 1988-1992.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-01

How to Cite

Share |