การดำเนินการนิเทศภายในของโรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สุภาพร พลจันทึก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการดำเนินการนิเทศภายในของโรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดนครราชสีมา ตามการรับรู้ของครู และ 2) เปรียบเทียบการดำเนินการนิเทศภายในของโรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามการรับรู้ของครูที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานระดับการศึกษาที่เปิดสอนของโรงเรียนที่ปฏิบัติงานและขนาดโรงเรียน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ครูโรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 346 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า มี 5 ระดับ เพื่อสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียนตามการรับรู้ของครูในโรงเรียนเอกชน การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย ผู้วิจัยประสานดำเนินการเก็บแบบสอบถามด้วยตนเอง ซึ่งได้รับคืนมาที่เป็นแบบสอบถามถูกต้องสมบูรณ์ จำนวน 324 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 93.64 ของแบบสอบถามทั้งหมด การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติ t-test One–Way ANOVA เมื่อพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทำการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีการของเชฟเฟ่

 

            ผลการวิจัยพบว่า

1. การดำเนินการนิเทศภายในของโรงเรียนเอกชน ที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดนครราชสีมา         ตามการรับรู้ของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก 4 ด้าน             และปานกลาง 1 ด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การวางแผนการนิเทศ รองลงมาคือ การดำเนินการนิเทศ การประเมินผลการนิเทศ การสร้างเสริมขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติการนิเทศ และการให้ความรู้ก่อนการดำเนินการนิเทศ

2. การเปรียบเทียบการดำเนินการนิเทศภายในของโรงเรียนเอกชน ที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดนครราชสีมาตามการรับรู้ของครู โดยจำแนกตามสภาพทั่วไปของครู โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ       ทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าครูที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน มีการรับรู้การดำเนินการนิเทศและการประเมิลผลการนิเทศ มีการดำเนินการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่เปิดสอนระดับประถมศึกษากับระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา มีการรับรู้ว่าการวางแผนการนิเทศ การให้ความรู้ก่อนการดำเนินการนิเทศ และการสร้างเสริมขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติการนิเทศ มีการดำเนินการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีการรับรู้การดำเนินการนิเทศ การสร้างเสริมขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติการนิเทศ และการประเมินผลการนิเทศ มีการดำเนินการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

คำสำคัญ : การดำเนินการนิเทศภายใน, โรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

References

กัลยา สุขสำราญจิตต์. (2551). การดำเนินการและความพึงพอใจในการดำเนินงานนิเทศภายในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานตามการรับรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
กรองทิพย์ นาควิเชตร. (2556). การวางแผนการศึกษา. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. เอกสารประกอบการเรียนนักศึกษาปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). คู่มือดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผู้นำการ เปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและศึกษานิเทศก์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
นงเยาว์ ศรีสว่าง. (2555). การศึกษาความพึงพอใจของครูต่อการนิเทศภายในของโรงเรียนเอกชนในเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหาร การศึกษา). นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
พิบุลชัย ศรีเข้ม. (2553). การศึกษาสภาพและปัญหาการนิเทศภายในโรงเรียนสังกัดเทศบาล เขตการศึกษา 10. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
พิมพา ศิริวงศ์. (2553). การดำเนินการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียนวัดไผ่เงินโชตนาราม สำนักงานเขตบางคอแหลม สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
ไพศาล หวังพานิช. (2552). “สถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์.” เอกสารประกอบการบรรยาย. นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
วรวุฒ เดชขุนทด. (2556). ศึกษาการดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียน เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญของโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
สวัสดิ์ เดชกัลยา. (2550). ศึกษาการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
แสวง เชยโพธิ์. (2551). สภาพและปัญหาการดำเนินการนิเทศภายในตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 7. วิทยานิพนธ์ศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
ไสว เปรมปรี. (2552). การศึกษาการดำเนินการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
อัญชลี โพธิ์ทอง. (2544). การนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ : ภาควิชาบริหารการศึกษาและอุดมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง .
อำนวย บุราณรมย์. (2553). การศึกษาปัญหาการดำเนินการนิเทศภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-03

How to Cite

Share |