การมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินการนิเทศภายในของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วีระชน คุ้มบ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการดำเนินการนิเทศภายในของครู                                              ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการดำเนินการนิเทศภายในของครู ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ที่มีระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการสอน ระดับชั้นที่สอน และขนาดของโรงเรียนที่ปฏิบัติงานต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครู         ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 321 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการนิเทศภายใน 5 ด้าน ได้แก่ 1) การวางแผนการนิเทศ 2) การให้ความรู้ก่อนดำเนินการนิเทศ 3) การดำเนินการนิเทศ 4) การสร้างเสริมขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานนิเทศ และ 5) การประเมินผลการนิเทศ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ของลิเคอร์ท (Likert Type Scale) และได้ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยภาพรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 และรายด้านอยู่ระหว่าง 0.85-0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ t-test และ F-test และเมื่อพบความแตกต่างทำการทดสอบรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe's Method)

               

            ผลการวิจัยพบว่า

  1. การมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินการนิเทศภายในของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน คือ ด้านการดำเนินการนิเทศภายใน ด้านการให้ความรู้ก่อนดำเนินการนิเทศภายใน ด้านการวางแผนการนิเทศภายใน และระดับปานกลาง 2 ด้าน คือ ด้านการสร้างเสริมขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานนิเทศ และด้านการประเมินผลการนิเทศ
  2. การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานการนิเทศภายในของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา พบว่าครูที่มีระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน ระดับชั้นที่สอนและขนาดของโรงเรียนต่างกัน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานการนิเทศภายในแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

คำสำคัญ :  การนิเทศภายใน, การมีส่วนร่วม

 

References

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). คู่มือดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผู้นำการ เปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและศึกษานิเทศก์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
จรุณี เก้าเอี้ยน. (2557). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติสำหรับ ผู้บริหารมืออาชีพ : พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
จิดาภา หาญสูงเนิน. (2555). การศึกษาการดำเนินการนิเทศภายในของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย อำเภอในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. (การบริหาร การศึกษา). นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
ฉัตรเพชร ทองธีระ. (2549). การศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหาร สถานศึกษาในเขตอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2543). การบริการงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.
ลัดดา เชื้อสูงเนิน.(2555). การศึกษาปัญหาการนิเทศภายในโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
ศรีทวน อะสงค์. (2550). การมีส่วนร่วมของครูผู้สอนในการวางแผนการนิเทศภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 7. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
สมพร ไชยจักร. (2556). การศึกษาการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนของครูสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-03

How to Cite

Share |