พฤติกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ตามความคิดเห็นของครู 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน และขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 244 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ครอบคลุมประเด็นการบริหารงานวิชาการใน 5 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัดผลประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน ด้านการนิเทศการศึกษา และด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) และได้ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้ค่าความสอดคล้อง (IOC) ของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยภาพรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 และรายด้านอยู่ระหว่าง 0.81-0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ F-test และเมื่อพบความแตกต่างทำการทดสอบรายคู่ โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe's Method)
ผลการวิจัยพบว่า
- พฤติกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ตามความคิดเห็นของครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัดผลประเมินผล และดำเนินการ เทียบโอนผลการเรียน และด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และระดับปานกลาง 2 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาและด้านการนิเทศการศึกษา
- การเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประสบการณ์การทำงานไม่แตกต่าง กัน เมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียนที่ปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
คำสำคัญ : พฤติกรรมการบริหารงานวิชาการ
References
ทวี จันทรมนตรี. (2550). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา สถานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
ปรีชา โล่ห์ชัย. (2552). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
วสันต์ ปรีดานันต์. (2553). การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศิลปากร
วิทยา นุ่นโฉม. (2554). พฤติกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สมชาย คำปลิว. (2549). การศึกษาบทบาทการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ. การค้นคว้าอิสระ แขนงวิชาการบริหารการศึกษา สาขาศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 4. (2556). ผลการประเมินการทดสอบระดับชาติของ (O-Net) ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2556. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 4. ถ่ายเอกสาร.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2549). แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2559). กรุงเทพฯ : คุรุสภา.
สุชาดา ศิริสุวรรณ. (2553). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาอำเภอเบตง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
สุนันทา อุชาดี. (2554). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนเทศบาล 2 (เมืองเก่าวิทยา) อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. สารนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา สถานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
อวิรุทย์ ยาเซ็ง. (2550). การศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน ตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.