ทักษะการอ่านออกเสียงสัทอักษรจีน (พินอิน) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การเกม
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการอ่านออกเสียงก่อนและหลังการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ โดยใช้เกมในการพัฒนาการอ่านออกเสียงสัทอักษรจีน (พินอิน) 2) พัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงสัทอักษรจีน (พินอิน) ให้มากกว่าร้อยละ 70 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมหิศราธิบดี สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา เขต 31 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มี 3 ชนิด คือ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 แผน ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 1 ชุด จำนวน 20 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกม 1 ฉบับ ที่เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนมีทักษะในการอ่านออกเสียงสัทอักษรจีน (พินอิน) เพิ่มขึ้น โดยก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมหลังเรียนสูงกว่าทักษะการอ่านออกเสียงก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2. นักเรียนมีทักษะการอ่านออกเสียงสัทอักษรจีน (พินอิน) สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ 0.05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมอยู่ในระดับมาก ( เท่ากับ 3.98)
คำสำคัญ : ทักษะการออกเสียงสัทอักษรจีน (พินอิน), การสอน, เกม
References
ทิศนา แขมมณี. (2554). การปฏิรูปทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. 30 : 1-5.
เบญจา คงสบาย. (2547). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่สอนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะและเกม. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประไพ สุวรรณสารคุณ. (2554). การพัฒนาทักษะกระบวนทางวิทยาศาสตร์โดยใช้เกมวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองบัว จังหวัดลำพูน. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พรทิพย์ บุญมงคล. (2551). สนุกกับการเรียนภาษาจีนด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ : ประพันธ์สาส์น.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2546). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
มหิศราธิบดี. (2556). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนมหิศราธิบดี ปีการศึกษา 2556. โรงเรียนมหิศราธิบดี. นครราชสีมา.
สิริวรรณ ใจกระเสน. (2554). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสะกดคำยากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษา โรงเรียนวัดม่วง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและนิเทศ คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุรชัย ปัทมผดุงศักดิ์. (2547). การเรียนการสอนภาษาจีนในไทย. กรุงเทพฯ : วารสารศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อังคณา ลังกาวงศ์. (2552). “ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยเสริมเกมวิทยาศาสตร์”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Dai Qing qing. (2008). 教汉语拼音的办法. 北京: 东明学校.