การเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้เรื่องนิทานคติธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการสอนตามรูปแบบซิปปากับการสอนแบบร่วมมือ

ผู้แต่ง

  • บงกช พลอยสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องนิทานคติธรรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การสอนตามรูปแบบซิปปา ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน         2) เปรียบเทียบผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องนิทานคติธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การสอนแบบร่วมมือระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องนิทานคติธรรม              กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการสอนตามรูปแบบซิปปากับการสอนแบบร่วมมือ                    และ 4) เปรียบเทียบเจตคติต่อนิทานคติธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการสอนตามรูปแบบซิปปากับการสอนแบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านบัวชุม ภาคเรียนที่ 2           ปีการศึกษา 2557 จำนวน 2 ห้อง จำนวนนักเรียน 42 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ                  1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนตามรูปแบบซิปปา 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบร่วมมือ                  3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.804 และ 4) แบบวัดเจตคติต่อนิทานคติธรรม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

                       

            ผลการวิจัยพบว่า

            1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องนิทานคติธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้วิธีการสอนตามรูปแบบซิปปา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

            2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องนิทานคติธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

            3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องนิทานคติธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้วิธีการสอนตามรูปแบบซิปปากับการสอนแบบร่วมมือไม่แตกต่างกัน

            4. เจตคติต่อนิทานคติธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้วิธีการสอนตามรูปแบบซิปปากับการสอนแบบร่วมมือไม่แตกต่างกัน

 

คำสำคัญ :  นิทานคติธรรม, การสอนแบบซิปปา, การสอนแบบร่วมมือ

References

จตุพร เจริญวัย. (2545). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยใช้โมเดลซิปปาในรายวิชาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จิรนันท์ บุญเรือน. (2544). ผลการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปาที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ทางภาษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จันทรา ตันติพงศานุรักษ์. (2543). “การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co-operative learning)”. วิชาการ. 3 (ธันวาคม). 36-55.
ชาติชาย พิทักษ์ธนาคม. (2544). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2542). “การจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โมเดลซิปปา (CIPPA Model)”. วารสารวิชาการ. 27 (มีนาคม-มิถุนายน). 1-17.
_______. (2553). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิช.
นงลักษณ์ เชียรหอม. (2547). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องกระจงน้อยจากป่าใหญ่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประพินท์ สังขา. (2551). ผลการใช้เทคนิคการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยใช้กรณีตัวอย่าง เพื่อฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิช.
ไพโรจน์ เบขุนทด. (2544). ผลการเรียนแบบร่วมมือ 3 วิธี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และความร่วมมือในการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุทธภูมิ สุวรรณเวช. (2556). สอนวรรณคดีไทยอย่างไรในยุคปฏิรูปการศึกษา. [ออนไลน์]. http://www.nawamintriampat.ac.th/external_newsblog.php?links=1070. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2556
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2545). เอกสารประกอบการสอนวิชา 0506703 พัฒนาการเรียนการสอน. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2545). จิตวิทยา : ทฤษฎีและปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
สมวุฒิ ชัยกิจ. (2546). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์และเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนโดยการจัดการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์และการสอนตามปกติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. (2557). รายงานผลการประเมินผลคุณภาพการศึกษาระดับชาติ ปีการศึกษา 2556. ลพบุรี : สำนักงาน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2551). เก่งภาษาไทย. กรุงเทพฯ : การศาสนา.
สุดารัตน์ สุทธิชาติ. (2547). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนคร.
สุภาพร รัตน์น้อย. (2546). ผลของการสอนโดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2546). หลักการสอน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
_______. (2550). หลักการสอน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
Mears, Michael John. (1996, January). The Effects of Cooperative Learning Strategies on Mathematics Achievement and Attitudes in Collage Algebra Classes. Dissertation Abstracts International, 56, 4690–A.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-03

How to Cite

Share |