การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง กาล (Tenses) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

ผู้แต่ง

  • สิริวรรณ บุญมี
  • อาจารย์ ดร.เนติ เฉลยวาเรศ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทำนอง เจริญรูป

คำสำคัญ:

หลักสูตรการสอนภาษาอังกฤษ, กาล (Tenses)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของการใช้ชุดกิจกรรมเรียนรู้ เรื่องกาล (Tenses) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องกาล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องกาล (Tenses) กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ จังหวัดลพบุรี รวม 25 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความเชื่อมั่น 0.780 4) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษ มีค่าความเชื่อมั่น 0.832

References

กรมวิชาการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์พัฒนาหลักสูตร กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.

กานดาวัลย์ คุณานนท์วิทยา. (2543). การพัฒนาชุดการสอนคำศัพท์วิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2539). การทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน. ในเอกสารการสอนวิชา

บาหยัน อิ่มสำราญ. (2548). ภาษากับการสื่อสาร, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

_______. (2554). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร สุวีริยาสาสน์.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2542). นวัตกรรมทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี : SR Printing.

พรสวรรค์ สีป้อ. (2550). สุดยอดวิธีสอนภาษาอังกฤษนำไปสู่การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2549). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศึกษา. กรุงเทพฯ : เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์.

เพ็ญศรี สร้อยเพชร. (2542). ชุดการเรียนการสอน. นครปฐม : สถาบันราชภัฏนครปฐม.

ฟาฏินา วงศ์เลขา. (2553). “พัฒนาภาษาอังกฤษ เตรียมเด็กไทยสู่อาเซียนและเวทีโลก” เดลินิวส์.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). บุคลิกภาพ. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2542). พลังเรียนรู้ในกระบวนทัศน์ใหม่. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.

โสมาวดี โอภาโส. (2542). การศึกษาผลการใช้ชุดการสอน วิชาภาษาอังกฤษเสริมทักษะชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

Bloom, B.S. (1976). Human characteries and school learning. New York : Mc Graw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-07

How to Cite

Share |