การศึกษาสภาพการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4
คำสำคัญ:
Internal quality assuranceบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 และเปรียบเทียบสภาพการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามขนาดของสถานศึกษาและระดับชั้นที่เปิดสอน การดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาประกอบด้วยกิจกรรม 8 ด้าน คือ ด้านการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้านการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ด้านการจัดระบบบริหารและสารสนเทศ ด้านการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ด้านการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ด้านการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้านการจัดทำรายงานประจำปีของสถานศึกษา และด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 123 โรงเรียน โดยเป็นสถานศึกษาขนาดเล็ก 60 โรงเรียน ขนาดกลาง 47 โรงเรียน และขนาดใหญ่ 16 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 123 คน และครูที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา จำนวน 123 คน รวมทั้งสิ้น 246 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่าชนิด 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.952 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วย t-test และ F-test ทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffé's Method)
References
ชูยศ พยุงสุวรรณ. (2551). สภาพและปัญหาการดำเนินงานตามกระบวนการการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
. (2556). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). รายงานการวิจัย การวิเคราะห์กระบวนการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนภายหลังการประเมินคุณภาพภายนอกรอบแรก. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.